วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ ๒๕, ๒๕๕๐

มุมมองด้านการลงทุนของพาไบร (1)

โดย อีมิล ลี
22 ก.พ.2550


ระหว่างปี 1980 และ 1990 วอร์เร็น บัฟเฟตต์ทำเงินเป็นพันๆล้านเหรียญจากการลงทุนซื้อหุ้น โคคาโคล่า เวลส์ฟาร์โก้ และยิลเล๊ตต์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล) แต่ก่อนหน้านั้นเขาสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าด้วยการลงทุนในบริษัทต่างๆที่คุณไม่เคยรู้จัก อย่างเช่น แซนบอร์น แม็ฟ และที่บางคนรู้จัก เช่น อเมริกัน เอ็กซ์เพรส

ในช่วงแรกๆ การลงทุนของบัฟเฟตต์เน้นกลยุทธการแสวงหาเหตุการณ์พิเศษเฉพาะ - การกอบกู้บริษัทที่มีปัญหาด้านการเงิน,อาร์บิทราจ และซื้อขายกิจการที่เลิกล้มกิจการ (จากคำกล่าวของบัฟเฟตต์เอง หลายคนเชื่อว่าเขาทำกำไรได้มากกว่าปีละ 50%ให้กับพอร์ตส่วนตัวของเขาจากการลงทุนในเหตุการณ์พิเศษเฉพาะ)จากปี 1957 ถึง 1968 กองทุนหุ้นส่วนเพื่อการลงทุนของบัฟเฟตต์ทำกำไรขั้นต้นเฉลี่ยปีละ 31.6% และกำไรสุทธิเฉลี่ยปีละ 25.3% ตามลำดับ เทียบกับผลตอบแทนของดาวน์โจนส์ต่อปีในช่วงเดียวกันอยู่ที่ 9.1%

โมห์นิช พาไบร ถูกกล่าวขานไว้ในหนังสือที่ทุกคนต้องอ่านที่แต่งโดย เจมส์ อัลทูเชอร์ ชื่อ "ค้าหุ้นอย่างวอร์เร็น บัฟเฟตต์" ว่าเป็นผู้หลงไหลทำตามอย่างของบัฟเฟตต์ กองทุนหุ้นส่วนการลงทุนของเขาก็สร้างผลงานที่โดดเด่นไม่แพ้กัน หนังสือเล่มแรกของ พาไบร ชื่อ มุมมองด้านการลงทุน ได้ชื่อว่าเยี่ยมยอดในแง่ที่ว่าง่ายต่อการทำความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดหลักการต่างๆของการลงทุนอย่างชาญฉลาดได้ดีเยี่ยม เช่นเดียว

กันพาไบร ได้แต่งหนังสือเล่มใหม่ ชื่อ เดอะ ดานโด อินเวสเตอร์ ซึ่งจะออกมาเร็วๆนี้ ผมเชื่อว่า สมาชิกของฟูลส์ (รวมทั้งตัวผมด้วย)จะได้รับประโยชน์จากการอ่านแนวคิดของพาไบร และต่อไปนี้เป็นตอนแรกของการสัมภาษณ์พาไบรผ่านทางอีเมล์ซึ่งมีทั้งหมด 2 ตอน


อีมิล ลี:
คุณได้จัดรูปแบบกองทุนหุ้นส่วนของคุณตามแบบอย่างของกองทุนหุ้นส่วนของบัฟเฟตต์ - ไม่ทราบคุณพอจะแจงรายละเอียดการดำเนินงานกองทุนหุ้นส่วนว่าทำอย่างไรได้ไหม มองในแง่ของผลการดำเนินงาน สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร และอื่นๆ ไม่ทราบว่าได้ผลไปในแนวทางเดียวกันหรือเปล่า


โมห์นิช พาไบร:
กองทุนนี้ไปได้ดีกว่าที่ผมได้วาดหวังเอาไว้ ผมขอยกผลงานนี้ไว้ให้กับท่านบัฟเฟตต์ทั้งหมด เงินลงทุนเริ่มต้น(ตั้งแต่ 1 ก.ค. 1999)ที่ลงไว้กับกองทุนพาไบรจำนวน 100,000 เหรียญ ถึงตอนนี้ 31 ธ.ค. 2006 เพิ่มมูลค่าเป็น 659,700 เหรียญ ระยะเวลา 7 ปีครึ่ง คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 28.6% - หลังหักค่าใช้จ่ายสำหรับผมและค่าธรรมเนียมต่างๆ สินทรัพย์ภายใต้การบริหารอยู่ที่กว่า 400 ล้านเหรียญ -- เพิ่มจากที่เริ่มต้น 1 ล้านเหรียญ พิจารณาในทุกๆด้านพบว่า กองทุนพาไบร ได้สร้างผลงานดีมากๆเกินกว่าจุดที่ผมได้คาดหวังไว้สูงสุดเสียอีก

ในกาลข้างหน้า ผมคาดไว้ว่าเราจะยังเอาชนะดัชนีต่างๆได้ต่อไป แต่น่าจะมีค่าเฉลี่ยต่อปีสูงกว่าบ้างเพียงเล็กน้อย


ลี:
คุณมีความเชื่ออย่างแจ่มชัดในเรื่องของการต้องมีความรอบรู้หลายๆด้านในสาขาวิชาการต่างๆสำหรับเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจแนวคิดการลงทุนต่างๆ คุณพอจะเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมว่าแต่ละวันคุณใช้เวลาอย่างไร คิดเป็นอัตราส่วนโดยทั่วไปแล้วคุณอุทิศเวลาให้กับการอ่านเอกสารที่ไม่เกี่ยวกับการลงทุน หรือ รายงานรายไตรมาส ฯลฯ เป็นต้น อย่างไร


พาไบร: ตารางเวลาทำงานของผมส่วนใหญ่จะว่างเปล่า ผมพยามเข้าร่วมการประชุมประจำสัปดาห์ไม่ให้เกินกว่า 1 ครั้งต่ออาทิตย์ นอกจากนั้น ผมจะใช้เวลาแต่ละวันในแบบที่ไม่จำเพาะเจาะจงมากนัก ถ้าผมอยู่ระหว่างการทำการบ้านเกี่ยวกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ผมมักใช้เวลาไม่กี่วันเพียงเพื่อมุ่งเน้นอ่านเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าว ถ้าไม่มีอะไรปกติแล้วผมจะอ่านหนังสือบ้าง และให้ช่วงเวลาหนึ่งไว้สำหรับติดต่อโต้ตอบจดหมาย - ส่วนใหญ่เป็นอีเมล์

เกือบทุกช่วงบ่ายผมใช้เวลาสำหรับการงีบหลับ ผมมีห้องนอนแยกไว้ต่างหากในที่ทำงานของเรา และตามปกติผมจะอยู่จนดึกดื่น ดังนั้นผมใช้เวลาสำหรับการอ่านบ้างในตอนกลางคืน


ลี: คุณบอกไว้ในหนังสือที่ชื่อ ค้าหุ้นอย่างวอร์เร็น บัฟเฟตต์ ว่าคุณปล่อยให้แนวคิดต่างๆสำหรับการลงทุนของคุณบังเกิดขึ้นมาจากการอ่านอย่างไม่หยุดไม่หย่อน และขณะเดียวกันก็เฝ้าติดตามดูชื่อหุ้นที่รู้จักคุ้นเคยในตลาดหุ้นนิวยอร์ค ไม่ทราบคุณพอจะอธิบายถึงขบวนการสร้างแนวคิดเกี่ยวการลงทุนได้ไหม -- ใช่หรือเปล่าที่ว่าได้มาจากแค่การอ่านอย่างไม่หยุดไม่หย่อน คุณทำอะไรอย่างอื่นอีกหรือเปล่าเพื่อค้นหาแนวคิดการลงทุนอย่างไม่ลดละ


พาไบร: ความช่ำชองอันดับหนึ่งที่จำเป็นสำหรับนักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จ คือ ความอดทน คุณจำต้องปล่อยให้เกมวิ่งเข้ามาหาคุณ รูปแบบพฤติกรรมการทำงานที่ผมยึดปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอก็คือ ผมทำตัวเหมือนกับว่าผมเป็นสภาพบุรษคนหนึ่งที่อยู่กับงานอดิเรก และเหมือนกับว่าผมไม่ได้อยู่ในธุรกิจการลงทุน หากมีอะไรบางอย่างแสดงออกมาในลักษณะบีบคั้นอย่างยิ่งถึงขั้นตะโกนใส่หน้าผม โดยบอกว่า "ซื้อฉันซิ!" จากนั้นผมจะลงมือทำการบ้านหาข้อมูล นอกเหนือจากนั้นแล้วผมก็เพียงแต่อ่านๆให้สักได้ชื่อว่าอ่าน ฉะนั้นผมจะสอดส่องหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพียงไม่กี่แห่งและโดยปกติก็จะสามารถค้นพบตัวที่ตะโกนใส่หน้าผมในแต่ละปีเพียงไม่กี่ตัว แหล่งข้อมูลเหล่านี้ (ไม่ได้จัดเรียงเป็นลำดับแต่อย่างใด) ได้แก่:


1. ราคาหุ้นต่ำในช่วง 52 สัปดาห์(52- Week Lows) ในตลาดหุ้นนิวยอร์ค (พิมพ์ทุกวันในหนังสือพิมพ์วอลสตรีต และหนังสือรายสัปดาห์ชื่อ แบรอน)
2. แวลูไลน์ (Value Line) (ตามดู รายชื่อหุ้นราคาถูก ต่างๆ)
3. เอาท์สแตนดิ่ง อินเวสเตอร์ ไดเจสต์
4. แวลู อินเวสเตอร์ อินไซท์
5. พอร์ต โฟลิโอ รีพอร์ต (จาก กลุ่มคนที่เขียนคอลัมน์ใน เอาท์สแตนดิ่ง อินเวสเตอร์ ไดเจสต์)
6. หนังสือพิมพ์วอลสตรีต เจอร์นัล
7. หนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชี่ยน ไทม์
8. แบรอน'ส
9. ฟอรบส์
10. ฟอร์จูน
11. บิซิเนสวีค
12. เดอะซันเดย์ นิวยอร์ค ไทม์
13. เดอะ แวลู อินเวสเตอร์ คลับ
14. กูรู โฟกัส


จากบรรดารายชื่อที่ว่ามาข้างต้น ในอดีตที่ผ่านมาได้ทำให้ผมค้นพบแนวคิดการลงทุนที่ดีๆอย่างน้อยปีละ 3 หรือ 4 ตัวทุกๆปี บางครั้งผมก็ทำผิดพลาด และแนวคิดที่เห็นว่าดีกลับกลายเป็นว่าไม่ค่อยดีสักเท่าใด


ลี: หลักใหญ่ของการลงทุนอยู่ที่ต้องรู้ว่าอันไหนต้องให้ความสนใจและอันไหนไม่ต้องใส่ใจ (พุ่งความสนใจ)คุณมีวิธีแจกแจงแยกแยะแนวคิดการลงทุนจากรายการหลายๆพันรายการได้อย่างไร บ่อยครั้งที่รายการราคาถูกเป็นรายการราคาถูกเนื่องจากผู้คนยังนึกไม่ถึง -- คุณทำอย่างไรถึงจะบอกได้ว่าเข็มที่ปนอยู่ในกองฟางอยู่ตรงไหน และคุณมีวิธีเลี่ยงกับดักของมูลค่าอย่างไร


พาไบร: ผมเฝ้ารอจนกว่าจะได้ยินเสียงตะโกนใส่หน้าผม "ซื้อฉันซิ!" เสียงตะโกนนั้นจำเป็นต้องดังมากจริงๆ เนื่องจากหูของผมค่อนข้างจะตึงเสียด้วยซิ


ลี: จะเป็นการยุติธรรมไหมหากจะพูดว่าคุณเป็นคนที่ให้ความใส่ใจกับงบดุลมากกว่าเมื่อเทียบกับงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด หากเป็นเช่นนั้นคุณจะขจัดความกังวลเกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์อย่างไร (เป็นต้นว่า ฟร้อนท์ไลน์ การจัดการการฌาปนกิจ)


พาไบร: จอห์น เบอร์ วิลเลี่ยมส์ เป็นคนแรกที่ให้คำจำกัดความของคำว่า มูลค่าแฝงเร้น(intrinsic value) ไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ เดอะ เธียรี่ ออฟ อินเวสเมนท์ แวลู ตีพิมพ์เมื่อปี 1938 ตามที่วิลเลี่ยมส์ อธิบาย คำว่า มูลค่าแฝงเร้น ของธุรกิจใดๆประเมินหาได้จากกระแสเงินหมุนเวียนเข้าและหมุนเวียนออก -- หักส่วนลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม -- ที่คาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงชีวิตที่เหลือของธุรกิจนั้นๆ คำจำกัดความดังกล่าวดูแล้วง่ายชนิดที่ต้องคิดตรึกตรองอย่างหนักหน่วง

ดังนั้น เงินสดที่จะได้มามีสองทาง ทางหนึ่งจากการขายทอดตลาดเมื่อกิจการล้มเลิก หรือ เป็นเงินสดที่ได้จากการประกอบธุรกรรมของธุรกิจนั้นปีแล้วปีเล่า จึงเท่ากับว่าคำถามทั้งหมดที่ต้องตอบให้ได้ก็คือ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ในอนาคตว่าจะออกมารูปใด ถ้าหากกระแสเงินสดในอนาคตสามารถพยากรณ์ออกมาได้ง่ายและมีความน่าจะเป็นไปได้สูงก็ให้ละความสนใจต่อเรื่องการขายทอดตลาดเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดเสีย ในทางกลับกัน บางครั้งก็มีความเป็นไปได้สูงที่ต้องหามูลค่าจากมูลค่าของการขายทอดตลาดเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสด ทั้งสองวิธีใช้ได้ผล ขึ้นกับว่าสถานะการณ์เป็นเช่นใด แต่ขั้นแรกคุณต้องได้ยินเสียงตะโกนโหวกเหวกเสียก่อน......


ผู้เจริญรอยตามที่สูงส่งด้วยคุณค่า

คำตอบของพาไบร ได้เปิดโลกทัศน์สู่แนวคิดและนิสัยต่างๆของนักลงทุนเน้นมูลค่าผู้เยี่ยมยุทธ โดยความเป็นจริงแล้ว เขาเป็นคนหนึ่งในเพียงไม่กี่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ผู้ยอมรับว่าวิธีการของบัฟเฟตต์ควรค่าแก่การเจริญรอยตามอย่างยิ่ง (พาไบร ถูกเสนอชื่อให้เป็น คนที่ทำตามแบบอย่างของบัฟเฟตต์ (Buffetteer) โดยนิตยสารฟอรบส์) เช่นเดียวกับบัฟเฟตต์ พาไบรเชื่อมั่นว่า อย่าสับสนว่าการไม่อยู่สุข(การซื้อๆขายๆ)เป็นเรื่องเดียวกับผลงานที่ได้รับ แต่มักเป็นตัวเตะถ่วงผลงานเสียมากกว่าแทน

ที่มา http://www.fool.com/investing/value/2007/02/22/pabrais-perspectives-on-investing.aspx

ไม่มีความคิดเห็น: