วันอาทิตย์, มกราคม ๐๒, ๒๕๕๔

เบน เกรแฮม พูดถึงบทบาทของมูลค่าแฝงต่อการวิเคราะห์หุ้น(II)

วันก่อนผมได้พิเคราะห์วิธีคำนวณหามูลค่าแฝงของบริษัทไรท์ แอโรนอติคอล คอร์ปอรเรชั่นตามแนวทางของแกรแฮมไปแล้ว วันนี้ผมต้องการที่จะพิเคราะห์อีกตัวอย่างที่ท่านได้ให้ไว้ ซึ่งก็คือ J.J. Case

J.J. Case

กำไรสุทธิ ต่อ หุ้น

1932 - ($17.4) ขาดทุน
1931 - ($2.90)ขาดทุน
1930 - $11.00
1929 - $20.40
1928 - $26.90
1927 - $26.00
1926 - $23.30
1925 - $15.30
1924 - ($5.90) ขาดทุน
1923 - ($2.10) ขาดทุน
ค่าเฉลี่ย: $9.50
ต่อไปนี้คือความเป็นมาของบริษัทในช่วงต้นปี 1933:
ราคาต่อหุ้น: $30.00
กำไรสุทธิ: ($17.40) ปี 1932
มูลค่าสินทรัพย์: $176
ปันผล : ไม่ได้จ่าย
พิสัยของมูลค่าแฝงที่แกรแฮมให้ไว้ : $30 ถึง $130
ข้อสังเกต
  • แกรแฮมได้ให้ความเห็นว่า J.J. Case เป็นตัวอย่างของสถานการณ์ซึ่งนักวิเคราะห์ไม่สามารถประมาณการมูลค่าแฝงที่เชื่อถือได้
  • เขากล่าวต่อไปว่า หากว่าราคาลดลงมาต่ำมากพอ นักวิเคราะห์ก็อาจจะสามารถสรุปได้ว่า มูลค่าดังกล่าวต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น ราคา $10.00 ต่อหุ้น
  • นักวิเคราะห์ไม่เชื่อว่าจะเกิด regresssion to the mean หรือ ค่าเฉลี่ยกำไรสุทธิในอดีตจะคงอยู่เช่นนั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนการให้ความเห็นความเป็นไปในอนาคตของนักวิเคราะห์เฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เกี่ยวกับการเติบโต
  • นักลงทุนวีไอบางกลุ่มก็จะเพียงแค่ไม่ยอมจ่ายสำหรับมูลค่าที่จะโตเพิ่มอีกในอนาคต โดยพิจารณาจากสมมุติฐานที่ว่าความเป็นไปในอนาคตดังกล่าวเชื่อถือไม่ได้ ส่วนอีกกลุ่ม เช่น บัฟเฟตมีความพิถีพิถันในการคัดเลือกเป็นอย่างยิ่งและจะลงทุนในบริษัทที่มีการเติบโตเท่านั้นถ้าหากบริษัทนั้นยังมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันอีกต่างหากนอกเหนือไปจากมีข้อเท็จจริงยืนยันว่ามีอนาคตที่ดีในแง่ของการเติบโตชัดเจน
  • บางบริษัทควรถูกจัดไว้ในกองที่เรียกว่า"ยากเกินไป"ที่จะเข้าใจ มีปลาอยู่มากมายในทะเลและเวลามีค่ายิ่ง จงอย่าเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ไปกับความพยายามที่จะทำความเข้าใจกับโจทย์ที่แก้ไม่ได้
  • จงตั้งข้อสงสัยให้มากๆเกี่ยวกับมูลค่าของสินทรัพย์ โดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในภาวะถดถอย ผู้ขายหนังสือพิมพ์ในภาวะการณ์ตลาดปัจจุบันกำลังได้รับบทเรียนที่โหดร้ายในแง่ของมูลค่าสินทรัพย์ที่ไม่สามารถสร้างผลกำไรได้อีกต่อไป ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นประจำปี 1985 บัฟเฟตได้พรรณาไว้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อตอนที่ขายทอดตลาดเครื่องมือทอผ้าของเบิร์กไชร์ แฮธเวย์
" นักลงทุนบางท่านให้ความสำคัญต่อมูลค่าตามบัญชีอย่างยิ่งยวดสำหรับใช้ประกอบการการตัดสินใจในการลงทุนซื้อหุ้น (ผมเองก็ทำเช่นนั้นเหมือนกันในช่วงปีแรกๆที่เริ่มลงทุนใหม่ๆ) และนักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการบางคนเชื่อว่ามูลค่าทดแทน (replacement values)มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับไว้ใช้พิจารณาความเหมาะสมของระดับหุ้นราคาในตลาดหุ้น คำแนะนำที่ว่าจากสองแหล่งดังกล่าวจะได้รับบทเรียนที่งานประมูลเพื่อขายทอดตลาดเครื่องจักรทอผ้าของเราซึ่งจัดขึ้นตอนต้นปี 1986
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ขายออกไป (รวมทั้งส่วนที่ขายโละทิ้งออกไปไม่กี่เดือนก่อนการจัดการประมูล)ทั้งหมดเคยถูกจัดวางไว้ในพื้นที่โรงงานที่มีขนาดทั้งหมด 75,000 ตารางฟุตในเมืองนิว เบ๊ดฟอร์ด และยังอยู่ในสภาพที่ใช้การได้อยู่เลย แต่เดิมเราใช้เงินลงทุนไปกับอุปกรณ์เครื่องมือดังกล่าวราว 13 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมทั้งที่ใช้ไปในระหว่างปี 1980-84 อีก 2 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีมูลค่าตามบัญชีปัจจุบัน 866,000 ล้านเหรียญสหรัฐ(ภายหลังหักค่าเสื่อมแบบเร่ง) แม้ว่าจะไม่มีผู้บริหารที่สุขภาพจิตปกติที่ไหนจะลงทุนอย่างแน่ นอน บางทีหากต้องการลงทุนซื้อใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรที่โละออกไปต้องใช้เงิน 30 - 50 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าเบื้องต้นจากการขายเครื่องจักรอุปกรณ์ครั้งนี้ของเราอยู่ที่ 163,122 เหรียญสหรัฐ หากคิดรวมค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งช่วงก่อนและหลังการขายทอดตลาดโดยสุทธิแล้วมีค่าน้อยกว่าศูนย์ กี่ปั่นด้ายที่ยังอยู่ในสภาพค่อนข้างทันสมัยซึ่งเราเคยซื้อตกชิ้นละ 5,000 เหรียญสหรัฐเมื่อปี 1981 ปรากฏไม่มีผู้ใดจะซื้อที่ราคา 50 เหรียญสหรัฐ สุดท้ายเราขายออกไปแบบทิ้งขว้างตกชิ้นละ 26 เหรียญสหรัฐ รวมเบ็ดเสร็จแล้วยังได้น้อยกว่าค่ารื้อถอน
พิจารณาตรงนี้ : มูลค่ากู๊ดวิลทางเศรษฐศาสตร์ของสายส่งหนังสือพิมพ์ 2 สายในบัฟฟาโล - หรือ ของร้านซีแคนดี้ 1 ร้าน - มีค่าสูงกว่ารายได้ที่เราได้รับจากสินทรัพย์ถาวรจำนวนมากมายดังกล่าวเป็นอย่างยิ่งซึ่งเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านั้นภายใต้สภาวะการแข่งขันที่แตกต่างไปจากขณะนี้ สามารถจ้างแรงงานจำนวนมากเกินกว่า 1,000 คน"
บทสรุป, - ข้อชี้แนะของแกรแฮมเกี่ยวกับมูลค่าแฝงเป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งถ้าหากคุณใช้อย่างถูกต้องและเข้าใจถึงข้อจำกัดของมัน อย่างที่อาริสโตเติ้ลกล่าวไว้ว่า " มันเป็นการมาถึงของชายผู้ได้รับการศึกษาที่จะมุ่งเป้าไปยังเรื่องของความถูกต้องแม่นยำของสิ่งต่างๆในแต่ละจำพวกก็ต่อเมื่อธรรมชาติของสิ่งนั้นๆเอื้ออำนวยเท่านั้น" จงอดทนและรอคอยที่จะยังไม่เหนี่ยวไกจนกว่าจะเป็นที่ชัดเจนเสียก่อน มีโอกาสอยู่อย่างดาดดื่นในอดีตที่ผ่านมาและในอนาคตก็จะยังมีอยู่ดาดดื่นเช่นกัน

วันอาทิตย์, ธันวาคม ๐๕, ๒๕๕๓

เบน เกรแฮม พูดถึงบทบาทของมูลค่าแฝงต่อการวิเคราะห์หุ้น(I)

มีอะไรต่อมิอะไรมากมายที่แม้ว่าผ่านเกณ์การประเมินวิเคราะห์หุ้นแล้วแต่ก็ดูเหมือนกับว่าเป็น"ทฤษฎีโง่เขลาเสียยิ่งกว่าอีก"อย่างมาก อินเวสโทเปียให้คำจำกัดความ"ทฤษฎีโง่เขลาเสียยิ่งกว่าอีก"ไว้ดังนี้ คือ ทฤษฎีนี้บอกไว้ว่ามีความเป็นได้ที่จะหาเงินจากการซื้อหุ้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะมีราคาเกินมูลค่าหรือไม่ก็ตามแล้วขายออกไปซึ่งยังไงก็ได้กำไรทั้งนี้เพราะจะมีคนบางคน(ผู้โง่เขลามากเสิยยิ่งกว่า)ที่ยินดีจ่ายด้วยราคาที่สูงกว่าเสมอ

วิธีการนี้เก่าแก่พอๆกับตลาดหุ้นวอลล์สตรีต และ แม้ว่าจะมีเทรดเดอร์จำนวนไม่มาก(น้อยนิด)ที่อาจจะสามารถทำกำไรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วยวิธีการดังกล่าว(ทั้งๆที่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของการซื้อขายอย่างถี่ยิบแต่อย่างใด) แต่โดยเฉลี่ยคนทั่วไปไม่สามารถจะทำกำไรได้

ด้วยแนวทางที่ต่างไปจากวิธีการที่มีอยู่แล้วดังกล่าว เบน เกรแฮมได้เข้าสู่วงการและนำเสนอแนวคิดใหม่สำหรับการวิเคราะห์หุ้นที่ทรงพลังยิ่ง หลักคิดพื้นฐานก็คือ เมื่อคุณซื้อใบหุ้นนั่นหมายความว่าคุณกำลังซื้อส่วนหนึ่งอันน้อยนิดของธุรกิจที่มีอยู่จริง เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ซื้อใบหุ้นควรที่จะเข้าใจและสามารถประเมินได้ว่าธุรกิจมีค่าตีเป็นตัวเงินเท่าใดโดยศึกษาจากข้อเท็จจริงต่างๆ ได้แก่ สินทรัพย์ กำไร เงินปันผล แนวโน้มธุรกิจในอนาคต ฝ่ายบริหาร การฟ้องร้อง ฯลฯ เป็นต้น สิ่งต่างๆที่ว่ามาดังกล่าว เกรแฮม เรียกว่า มูลค่าแฝง อีกทั้งเกรแฮมยังเข้าใจดีว่าเนื่องจากมีความผันผวนอย่างมากในตลาดหุ้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถซื้อหุ้นในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งในราคาที่มีส่วนลดอย่างชัดเจนจากมูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจเป็นระยะๆ ส่วนลดดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเป็นพื้นฐานที่สมเหตุสมผลให้คาดการณ์ได้ว่าจะกลายเป็นผลตอบแทนที่งดงาม(หรือ ไม่ใคร่จะงดงาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับราคาที่ซื้อว่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด) แต่ยังเป็นกันชนเพื่อความปลอดภัยแก่นักลงทุนหากเกิดกรณีตัดสินใจและวิเคราะห์ผิดพลาดไปจากที่ควรเป็น และเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่อาจจะมองเห็นได้ในอนาคต


เกรแฮมชี้ให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินมูลค่าของธุรกิจออกมาเป็นค่าโดดๆที่ถูกต้องแม่นยำ ตามปกติมูลค่าที่ประเมินได้มักออกมาเป็นค่าพิสัย(อยู่ระหว่าง 2 ค่า คือ ต่ำสุดและสูงสุด) หากคุณสามารถประเมินค่าพิสัยนี้ออกมาได้ คุณก็สามารถบอกได้ว่าราคาหุ้นนั้นๆต่ำกว่ามูลค่า หรือ สูงเกินมูลค่า หรือ เป็นค่าที่เหมาะสม การไม่สามารถระบุมูลค่าออกมาเป็นมูลค่าโดดๆที่ถูกต้องแม่นยำก็ใช่ว่าเป็นปัญหาแต่อย่างใดหากว่าคุณสามารถซื้อหุ้นมาด้วยราคาที่ถูกพอ ถ้าจะเปรียบไปแล้วเกรแฮมบอกว่าน่าเป็นแบบเดียวกับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะตัดสินว่าชายคนใดคนหนึ่งอ้วนถึงแม้จะไม่รู้น้ำหนักที่แท้จริงของเขา หรือ ว่าผู้หญิงอายุมากพอที่จะมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้แม้ว่าเราไม่รู้อายุที่แท้จริงของหล่อนก็ตาม


ในหนังสือซีเคียวริตี้ อานาไลซิส (พิมพ์ครั้งที่ 6) (หน้า 63-67) เกรแฮมได้ยกตัวอย่างหุ้น 2 ตัวที่เขาได้ให้มูลค่าแฝงของหุ้นดังกล่าวไว้


ไรท์ แอโรนอติก คอร์ปอเรชั่น

ต่อไปนี้ คือ ความเป็นมาของบริษัท ในปี 1922

ราคา ต่อ หุ้น : $8.00

กำไรสุทธิต่อหุ้น : $2.00

ปันผล : $1.00

เงินสดต่อหุ้น : $8.00

พิสัยมูลค่าแฝงที่เกรแฮมให้ไว้: $20 ถึง $40

ข้อสังเกตุ:

  • เกรแฮมสรุปไว้ว่าหุ้นนี้ราคาถูก ณ ราคา $8.00 ต่อหุ้น

  • ค่าต่ำสุดของพิสัยมูลค่าแฝง มีค่า 10 เท่าของกำไรสุทธิ และ ยังมีค่าลดต่ำลงไปเป็นเพียง 6 เท่าของกำไรสุทธิถ้าเราคิดโดยตั้งสมมุติฐานว่าบริษัทไม่มีหนี้สิน (ณ ราคา $20 ต่อหุ้น คุณจะจ่ายแค่เพียง $12 ต่อหุ้นคิดจากเงินสดสุทธิ)

  • ไม่ว่ากรณีใดก็ตามเกรแฮมจะไม่ให้ราคาโดยประมาณเกินกว่า 20 เท่าของกำไรสุทธิ ($40/$2)

ต่อไปนี้ คือ ความเป็นมาของบริษัท ในปี 1928 :

ราคา ต่อ หุ้น: $280

กำไรสุทธิต่อหุ้น: มากกว่า $8.00($3.77 ในปี 1927)

ปันผล: $2.00

มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ: $50

พิสัยมูลค่าแฝงที่เกรแฮมให้ไว้ในปี 1929: $50 ถึง $180

ข้อสังเกตุ:

  • เกรแฮมคิดว่า ไรท์ แอโรนอติคัล อาจมีค่าคิดเป็นตัวเงินเพียงแค่ไม่เกินกว่า 6 เท่าของกำไรสุทธิปี 1928 เกรแฮมอาจได้พิจารณากำไรสุทธิปี 1927 และไม่เชื่อว่าบริษัทจะสามารถรักษาอัตรากำไรให้อยู่ที่ระดับ $8 ต่อไปได้
  • ไม่ว่ากรณีใดก็ตามเกรแฮมจะไม่จ่ายที่ราคามากกว่า 10 เท่าของกำไรสุทธิ $8 ต่อหุ้นรากำไรสูงสุดที่ทำได้)
  • ณ ราคา $280 ต่อหุ้น (35 เท่าของ กำไรสุทธิปี 1928) เกรแฮมคิดว่าเป็นที่ชัดเจนว่าราคา ไรท์ แอโรนอติคัล เกินมูลค่า

พรุ่งนี้ผมจะพิจารณาบริษัท เจ เจ เคส คอมมอน และเอามาสรุปให้นักลงทุนแบบประเมินมูลค่าร่วมสมัยเอาไว้ใช้ต่อไป

เกร็ก สไปเชอร์

ที่มา : http://www.gurufocus.com/news_print.php?id=107576



วันพฤหัสบดี, ธันวาคม ๑๓, ๒๕๕๐

พอร์ตโฟลิโอที่สมบูรณ์แบบของพาไบร

25 มิถุนายน 2550

ตามที่บอกว่าพอร์ตโฟลิโอของพาไบรสมบูรณ์แบบนั้นหาใช่เพราะในพอร์ตมีหุ้นอะไรอยู่บ้าง หากแต่น่าจะหมายถึงการจัดเงินลงทุนทั้งหมดไว้ในพอร์ตอย่างไรเสียมากกว่า พาไบรเป็นผู้ร่วมบริหารกองทุนพาไบร(Pabrai Investment Funds)ซึ่งเป็นกองทุนขนาด 500 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากผลงานด้านผลตอบแทนแก่ผู้ร่วมลงทุนในอัตราสูงถึง 29%ต่อปีแล้วพาไบรยังได้ออกแบบพอร์ตการลงทุนด้วยแนวคิดที่ยอดเยี่ยม

ได้มีการใช้เวลาอย่างมากมายและประมาณไม่ได้เพื่อศึกษาค้นหาว่าหุ้นตัวใดที่น่าลงทุนบ้าง แต่การใช้เวลาคิดทบทวนว่าราคาควรอยู่ที่เท่าใดนั้นพบว่าใช้กันน้อยมาก โดยปกติการตัดสินใจซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมักอาศัยความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อหุ้นตัวนั้นๆเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเป็นบางอย่างที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ข้อเท็จจริงก็คือบางครั้งการตัดสินใจซื้อ ณ ที่ราคาใดราคาหนึ่งก็สามารถส่งผลกระทบต่อพอร์ตโฟลิโอพอๆกับการที่จะเลือกซื้อตัวไหน ข้อมูลที่บ่งชี้ว่าควรจะเลือกซื้อหุ้นตัวใดนั้นพบมีอยู่ดาษดื่นแต่ข้อมูลที่บ่งบอกว่าควรซื้อที่ราคาเท่าใดพบมีอยู่น้อยมากๆ

พาไบรจึงได้พัฒนาทฤษฎีใหม่ที่เรียกว่า"ทฤษฎีพอร์ตโฟลิโอ"เพื่อใช้กำราบความรู้สึกต่างๆอันข้องเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของตนเองซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ยากที่จะเชื่อถือวางใจได้นั้น ผมขอเรียกเจ้าพอร์ตเช่นนี้ว่า "พอร์ตโฟลิโอสิบคูณสิบ" โดยเป็นการลงทุนในหุ้น 10 ตัวด้วยการกระจายเงินทุนไว้ในหุ้นแต่ละตัวๆ 10 เปอร์เซนต์ของพอร์ต ตามปกติพาไบรถือหุ้นชนิดต่างๆกันอยู่ระหว่าง 7 ถึง15 ตัว แต่ก็พยายามให้ใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐานสิบคูณสิบ กองทุนก็ทำได้ยากเหมือนกันที่จะเกลี่ยกระจายสัดส่วนการลงทุนให้ลงตัวสมบูรณ์แบบ เพราะหุ้นบางตัวราคาขยับขึ้นไปเรื่อยๆก่อนที่จะซื้อได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ หรือเป็นเพราะหุ้นที่ซื้อไว้แต่เดิมได้มีการขยับของราคาสูงขึ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พอร์ตโฟลิโอที่จัดสรรแบบสิบคูณสิบยังมีผลกระทบที่ไม่เด่นชัดมากนักอีกประการ ก็คือ การตั้งเกณฑ์มาตรฐานโดยใช้อัตราส่วนเป็นเปอร์เซนต์นี้จะทำให้มั่นใจได้ว่านักลงทุนเองต้องมีความมั่นใจสูงมากพอที่จะนำเงินในพอร์ต10%เข้าไปลงทุน ถ้าความมั่นใจยังไม่มากพอเขาก็ไม่ควรที่จะลงทุนเลยแม้แต่น้อย สรุปง่ายๆก็คือ พอร์ตโฟลิโอเช่นนี้ออกแบบมาเพื่อทำให้มั่นใจว่านักลงทุนจะต้องลงทุนในหุ้นที่ถูกศึกษากลั่นกรองมาและลงความเห็นว่าดีที่สุดเท่านั้น

ก็อย่างที่บัฟเฟตต์พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า:
" เมื่อคิดจะลงทุนก็ให้เสแสร้งว่าในชีวิตนี้คุณมีบัตรที่มีช่องสำหรับตอกเพื่อการลงทุนแค่ 20 ช่อง และแต่ละครั้งที่คุณตัดสินใจลงทุนก็ให้ตอกบัตร 1 ช่องทุกครั้ง เท่ากับเป็นการสร้างวินัยแก่ตัวคุณเองว่าต้องลงทุนแต่ในหุ้นที่คุณมีความเชื่อมั่นแบบสุดๆเท่านั้น"

ยิ่งไปกว่านั้นพอร์ตโฟลิโอที่ประกอบไปด้วยหุ้น 10 ตัวก็ถือได้ว่ามีความกระจุกตัวพอที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าผลตอบแทนของตลาดโดยรวมได้ แต่ก็ไม่ถือว่ากระจุกตัวเกินไปจนถึงขั้นที่ว่าหากเลือกหุ้นผิดตัวเพียงตัวเดียวก็ถึงกับทำให้เกิดความอัปปางของกองทุนทั้งกองได้ พาไบรยอมรับว่าเขารู้ตัวเองดีว่ายังเป็นผู้ตัดสินใจที่ดีไม่เท่าเมื่อเทียบกับวอร์เร็น บัฟเฟตต์ผู้ซึ่งเมื่อตอนอายุน้อยเขาตัดสินใจลงทุนความมั่งคั่งของเขาเองเกือบทั้งหมดไว้ในหุ้น GEICO ฉะนั้นถ้าหากพาไบรผิดพลาดกองทุนที่เขาบริหารก็จะยังสามารถทำผลงานได้ดี เขาเองก็ได้เคยผิดพลาดมาแล้วในช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาแต่ก็ยังสร้างผลตอบแทนได้เกือบ 30%ต่อปีหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว

พาไบรได้แนะนำพอร์ตโฟลิโอตัวอย่างไว้เมื่อคราวจัดประชุมผู้ถือหุ้นกองทุนของเขาประจำปี 2005 เขาได้แสดงข้อมูลต่อไปนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าพอร์ตโฟลิโอแบบสิบคูณสิบจะยังคงสร้างผลงานที่ดีแม้จะมีการตัดสินใจผิดพลาดอย่างแรงในหุ้นบางตัว

เงินลงทุน ผลตอบแทน
หุ้นถือครอง 1 $100 $10
หุ้นถือครอง 2 $100 $50
หุ้นถือครอง 3 $100 $100
หุ้นถือครอง 4 $100 $100
หุ้นถือครอง 5 $100 $180
หุ้นถือครอง 6 $100 $180
หุ้นถือครอง 7 $100 $180
หุ้นถือครอง 8 $100 $200
หุ้นถือครอง 9 $100 $200
หุ้นถือครอง 10 $100 $300

รวม $1000 $1500

เขายังได้อธิบายต่อไปอีกว่า ถ้าหากผลตอบแทนข้างต้นต้องอาศัยเวลานาน 3 ปีเพื่อบรรลุผลก็เท่ากับว่ากองทุนดังกล่าวสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีในอัตรา14.5% หากว่าใช้เวลาเพียง 2 ปีเพื่อให้บรรลุผลตอบแทนระดับนี้ก็เท่ากับว่ากองทุนให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 22.5%ต่อปี และถ้าใช้เวลาแค่เพียงปีเดียวก็เท่ากับว่าผลตอบแทนที่ได้ คือ 50%

แนวคิดอีกประการของพาไบร ก็คือ "ฐานพักเงินช่วยคราว" (Placeholder) โดยความเป็นจริงแล้วเขาเชื่อว่าการปล่อยให้เงินอยู่ในธนาคารเฉยๆมีความเสี่ยงเพราะมีความเป็นไปได้ที่มูลค่าเงินดอลล่าร์จะลดลง หากมองในแง่เศรษฐศาสตร์บอกได้เลยว่าเป็นความจริง เพื่อขจัดความเสี่ยงนี้ออกไปพาไบรเชื่อว่าเราควรนำเงินสดไปลงทุนในที่ๆบางแห่งที่ปลอดภัยและสร้างมูลค่าของผลตอบแทนในระดับที่สูงพอ ปัจจุบันเขาก็อาศัย Berksire Hathaway เป็น"ฐานพักเงินชั่วคราว" โดยรอจนกว่าเขาจะค้นหาพบหุ้นที่มีราคาที่ถูกกว่า การนำเงินไปไว้ในมือของนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกดูเหมือนว่าเป็นแนวความคิดที่ดีกว่าปล่อยเงินไว้ในธนาคาร

ผลตอบแทนจากการใช้ฐานพักเงินชั่วคราวในอดีตเทียบเป็นอัตราต่อปีอยู่ที่ราว116% ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ปี 2004 ขณะที่ราคาน้ำมันอยู่ที่ 40 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล พาไบรได้เริ่มเข้าซื้อหุ้น Canadian Oil Sands ซี่งบริษัทนี้ถือหุ้น Syncrude อยู่ 35% ราคาหุ้นยังคงต่ำกว่ามูลค่าแท้จริงเกินกว่า 25%เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันในขณะนั้น และก็ปรากฏว่ามีการประเมินค่าบริษัทไว้ ณ ราคาที่ราวกับว่าราคาน้ำมันจะไม่มีทางขยับขึ้นอีกเลย โดยความเป็นจริงแล้วพาไบรจึงตัดสินใจถอนเงินสดออกมาและซื้อน้ำมันมันดิบสำรองแทน ณ ราคา 30 ดอลล่าร์ ทั้งนี้เขาเชื่อว่านี่"เป็นวิธีการป้องกันความเสี่ยงต่อการลดลงของมูลค่าเงินดอลล่าร์ด้วยสินค้าประเภทคอมมอดิตี้ที่ได้ผล"

เขาเริ่มซื้อหุ้น ณ ราคา 48 ดอลล่าร์ 81 เซนต์ ตลอดช่วงเวลาเฉลี่ย 14 เดือนพาไบรได้รับผลตอบแทน 145%

วิธีการที่มีเหตุผลของเขาช่างง่ายดายและน่าประทับใจ ถ้าราคาน้ำมันไม่ขยับขึ้นเลยพาไบรก็ยังได้รับเงินปันผลจากกิจการซึ่งก็ถือว่าไม่เลว กรณีถ้าราคาขยับขึ้นไปที่ 40 หรือ 50 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล ก็เท่ากับว่าเขาประสบผลสำเร็จอย่างมาก ดังที่ทราบกันปรากฏว่าราคาน้ำมันได้ไต่ระดับขึ้นไปถึงราว 60 ดอลล่าร์และพาไบรได้เริ่มทยอยขายออกมา เขาได้ลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยและมีคนเทขายออกมา ณ ราคาที่มีส่วนลดมากๆแล้ว และก็มีตัวเร่งที่จะทำให้ราคาสูงขึ้นในอนาคต พาไบรรู้ดีว่าดอลล่าร์น่าจะมีมูลค่าลดลงในช่วงเวลาต่อจากนั้นไปและเขาได้พัฒนาแนวความคิดในอันที่จะปกป้องกองทุนของเขาจากความเสี่ยง เขาได้เลือกที่จะซื้อคอมมอดิตี้หรือบริษัทต่างๆที่มีความปลอดภัยเพื่อคอยดูแลเงินสดของเขาที่ได้ผลดีกว่า

โดยความเป็นจริงแล้วข้อสุดท้ายของพอร์ตโฟลิโอของพาไบรก็คือ แนวคิดข้อแรกที่เขาพูดถึงเมื่อทำการศึกษาค้นคว้าการลงทุนและมีความเหมาะเจาะเฉพาะกับกองทุนเพื่อการลงทุนพาไบรได้เป็นอย่างดี

ในบทความที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2004 พาไบรได้อธิบายสิ่งที่เขาตั้งชื่อว่า "ปัจจัย เยลโลว์สโตน" โดยเขาอธิบายว่าจริงๆแล้วสวนสาธารณะแห่งชาติเยลโลว์ศโตนก็คือภูเขาไฟขนาดมหึมานั่นเอง ซึ่งหากอ้างอิงตามสถิติแล้วจะมีการปะทุระเบิดขึ้นทุกๆ 6 แสนปีต่อครั้ง ซึ่งความรุนแรงของการระเบิดนี้สูงมากพอที่จะทำลายล้างชีวิตมนุษย์ทั้งหมดได้ในอาณาบริเวณ 700 ไมล์ และก็ปรากฏว่าเวลาผ่านมา 6 แสน 3 หมื่นปีแล้วนับจากการปะทุระเบิดครั้งที่แล้วก็ยังไม่มีการปะทุระเบิดขึ้นเลยจนถึงขณะนี้

ดังนั้นพาไบรจึงอธิบายว่า ไม่ว่าความเป็นได้ของการที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจะมีอยู่เพียงระดับน้อยนิดเพียงใดก็ตาม ก็จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงเสมอ เขาชี้แนะต่อไปอีกว่าในโลกนี้ไม่มีธุรกิจใดที่ปลอดจากความเสี่ยงอย่างสิ้นเชิง เท่ากับว่ามีเยลโลว์สโตนอยู่เสมอ

ก่อนที่พาไบรลงทุนอะไรก็ตาม เขาจะให้ความสนใจอย่างจดจ่อต่อปัจจัยต่างๆที่สามารถทำให้การลงทุนต้องประสบกับความสูญเสียของเงินต้นที่นำเข้าไปลงทุนอย่างมีนัยสำคัญเป็นอันดับแรกเสียก่อน เขาเชื่อว่าการประมาณการอย่างง่ายๆหรือการทำบัญชีบนหลังซองจดหมายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ความเป็นไปได้ของความเสี่ยงอื่นๆทำนองเดียวกันก็สามารถนำมาพิจารณาประกอบร่วมด้วยเช่นกัน เช่น การตกแต่งและช่อฉนทางบัญชี

ขณะที่ความเหมือนกันของการปะทุระเบิดของเยลโลว์สโตนเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ข้อมูลนี้ถือได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง ให้พิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆทั้งหลายที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นและต้องคำนึงถึงความน่าจะเป็นที่จะมีเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้น

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงให้มากสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พาไบรต้องมั่นใจว่าเขาลงทุนโดยทำให้มีการซ้ำซ้อนกันของธุรกิจน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น โดยปกติเขาจะถือหุ้นในอุตสาหกรรมน้ำมันเพียงบริษัทเดียว เขาสามารถลดความเสี่ยงโดยเฉพาะของอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิผลโดยแยกการถือครองหุ้นของเขาออกมาต่างหาก

พาไบรได้สร้างพอร์ตโฟลิโออย่างง่ายๆโดยอาศัยแนวความคิดแบบตรงไปตรงมา เขาได้ขัดเกลาแนวคิดต่างๆของบัฟเฟตต์ให้เป็นกฎต่างๆที่สามารถทำตามได้อย่างง่ายๆ พาไบรได้พัฒนาออกแบบพอร์ตโฟลิโอที่จะช่วยปรับปรุงผลงานการลงทุนของนักลงทุนได้อย่างแน่นอน ซึ่งประกอบด้วย การจำกัดการถือครองหุ้นเพียงไม่กี่บริษัท ป้องกันความเสี่ยงต่อการลดค่าของดอลล่าร์ และประเมินถึงการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ที่มา: http://www.gurufocus.com/news.php?id=8046

วันเสาร์, พฤศจิกายน ๑๐, ๒๕๕๐

คุณอยากเป็น วอร์เร็น บัฟเฟตต์คนต่อไปใช่ไหม ? คุณเขียนสื่อสารกับผู้อื่นได้เรื่องหรือเปล่า ?

โดย มาร์ค เซลเลอร์ส

ก่อนอื่นผมอยากขอบคุณ แดเนียล โกลเบอร์ก ที่เชิญผมมาที่นี่รวมทั้งทุกท่านที่ตั้งใจเข้ามาร่วมฟังการบรรยายของผม เป็นเวลานานพอควรผมไม่ได้มาบอสตัน แต่ผมเคยอยู่ที่นี่แค่ช่วงสั้นๆในระหว่างปี 1991และ 1992 ซึ่งเป็นช่วงที่ผมเข้าเรียนที่ โรงเรียนดนตรีเบอร์คลี่ (Berklee School of Music) ผมเรียนก็เพื่อจะเป็นนักเล่นเปียโนแจ๊สแต่ก็ลาออกกลางครันหลังจากเรียนได้ 2 เทอมแล้วย้ายไปลอสแองเจลลิสและเข้าร่วมวงดนตรีวงหนึ่ง ตอนอยู่ที่นี่ผมถังแตกมากถึงขนาดว่าไม่มีโอกาสได้ใช้ข้อได้เปรียบใดๆที่เป็นประโยชน์เพื่อทำโน้นทำนี่ในบอสตันเลย แม้แต่รถสำหรับใช้ขับท่องเที่ยวนิวอิงแลนด์ผมก็ยังไม่มี ส่วนใหญ่ผมจะใช้เวลาวันละ 10-12 ชั่วโมงจับเจ่าอยู่แต่ในห้องซ้อมคนตรีเพื่อฝึกฝนเล่นเปียโน ดังนั้นคราใดที่ผมกลับมาบอสตันจึงเสมือนว่าผมเป็นคนต่างถิ่นผู้ไม่เคยมาเมืองนี้แต่ก่อนเลย

สิ่งหนึ่งที่ผมไม่รั้งรอที่จะบอกแก่ทุกท่าน ก็คือ ผมมาที่นี่ก็ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อจะแนะนำหรือสอนคุณว่าต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ได้ ในทางตรงกันข้ามผมมาเพียงเพื่อจะบอกว่าเหตุใดจึงมีพวกท่านเพียงไม่กี่คนซึ่งน้อยมากๆที่จะสามารถก้าวสู่ความสำเร็จในระดับเดียวกับสถานะภาพของนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ได้

หากท่านทุ่มเทเวลาเพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับนักลงทุนเหล่านี้อย่างเพียงพอแล้ว ได้แก่ ชาร์ลี มังเกอร์, วอร์เร็น บัฟเฟตต์, บรู๊ซ เบอร์โควิตซ์, บิล มิลเลอร์, เอ็ดดี้ แลมเพิร์ต, บิล แอกค์เแมน, และ คนอื่นๆที่ได้ประสบความสำเร็จในโลกของการลงทุน ท่านก็จะเข้าใจว่าผมหมายความเช่นใด


ผมทราบดีว่าทุกท่านในห้องนี้เป็นผู้ที่มีระดับสติปัญญาสูงส่งมากและท่านก็ได้ทำงานมาอย่างหนักเพื่อทำให้ตนเองสามารถสอบผ่านเข้ามาเรียนในสถาบันแห่งนี้ได้ ทุกท่านเป็นผู้ที่มีความปราดเปรื่องที่สุดในบรรดาผู้ปราดเปรื่องทั้งหลาย และถึงกระนั้นก็ตามยังมีเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ทุกท่านควรจดจำเอาไว้แม้นว่าท่านจะจดจำสิ่งที่ผมกล่าวไปในวันนี้ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย นั่นก็คือ แทบเป็นไปไม่ได้เลยว่าพวกท่านทุกคนจะมีโอกาสก้าวขึ้นสู่การเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ได้ จริงๆแล้วมีความเป็นไปได้ในระดับต่ำเอามากทีเดียว คือประมาณ 2% หรือ น้อยกว่านั้น และผมขอบอกกล่าวข้อเท็จจริงอีกอย่างว่าท่านทั้งหลายมีไอคิวสูงและเป็นผู้ที่บากบั่นทำงานหนักและจะได้รับปริญญา เอ็มบีเอ จากสถาบันการศึกษาทางธุรกิจที่จัดว่าอยู่ในระดับต้นๆของประเทศในเวลาอันใกล้นี้ สมมุติว่าผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนวันนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดของประชากรของประเทศจริงๆที่ถูกสุ่มให้มาเข้าร่วมประชุมในวันนี้ โอกาสที่ใครคนใดคนหนึ่งในที่นี้จะกลายไปเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้าก็ยิ่งจะต่ำลงไปกว่าที่พูดแต่แรกเข้าไปใหญ่ นั่นคือ ราว 1 ใน 50 ของ 1% หรือประมาณนั้น พวกท่านทั้งหลายมีข้อได้เปรียบมากมายที่เหนือกว่า นักลงทุนที่ชื่อโจ และกระนั้นก็ตามท่านก็ยังแทบไม่มีโอกาสที่จะโดดเด่นกว่าฝูงชนทั่วไปได้เป็นระยะเวลานานๆ

และเหตุผลก็คือ เรื่องนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับไอคิวของคุณว่าสูงแค่ไหน หรือ คุณได้อ่านหนังสือ หรือ นิตยสาร หรือ หนังสือพิมพ์ มาแล้วจำนวนทั้งหมดกี่เล่ม หรือ ว่าคุณมีประสบการณ์มากน้อยเพียงใด หรือ ต่อไปในภายภาคหน้าที่คุณจะมีประสบการณ์จากการประกอบอาชีพของคุณเพิ่มมากขึ้นเพียงใดก็ตาม สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้หลายคนมีอยู่แล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ตามแทบจะไม่มีใครเลยจากบรรดาผู้คนเหล่านี้ที่จะสามารถสร้างผลงานในอัตราทบต้นได้ถึงระดับ 20 %หรือ 25 % ตลอดช่วงเวลาประกอบอาชีพการลงทุนของเขา

ผมทราบดีว่าสิ่งที่ผมพูดมาเป็นประเด็นที่ต้องถูกนำขึ้นมาถกเถียงกันแบบไม่รู้จักจบสิ้น และผมเองไม่ต้องการโต้เถียงกับผู้ใดในที่ประชุมแห่งนี้ แต่อย่างไรก็ตามผมเองก็ไม่ได้กำลังชี้นิ้วเจาะจงลงไปที่ท่านใดท่านหนึ่งเป็นการเฉพาะแล้วบอกว่า "คุณแทบไม่มีโอกาสได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่" เชื่อว่าน่าจะมีคนหรือสองคนในห้องนี้ที่จะสามารถทำอัตราทบต้นได้ที่ระดับ 20%ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในอาชีพการลงทุนของเขา แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะบอกไว้ล่วงหน้าว่าจะเป็นท่านใดหากผมไม่เคยได้รู้จักกับแต่ละท่านเป็นการส่วนตัวมาก่อน

ถ้ามองในอีกด้านหนึ่งที่สดใส แม้ว่าทุกท่านส่วนใหญ่จะไม่สามารถทบต้นเงินให้ได้ถึงระดับ 20% ตลอดอายุการทำงานของคุณก็ตาม หลายท่านในที่นี้จะต้องประสบความสำเร็จในการเป็นนักลงทุนระดับที่ดีเหนือกว่านักลงทุนๆทั่วไป เพราะทุกท่านเป็นตัวอย่างของกลุ่มหัวกะทิ นั่นคือ เอ็มบีเอจากฮาร์เวิร์ค ใครก็สามารถเรียนรู้ที่จะเป็นนักลงทุนระดับสูงกว่าผู้คนโดยเฉลี่ยทั่วไปได้ คุณสามารถที่จะเรียนรู้เพื่อทำให้ได้ดีในระดับที่สูงพอถ้าหากคุณเป็นผู้มีความเฉลี่ยวฉลาดและทำงานหนักและมีการศึกษาดีพอเพื่อเป้าหมายให้ได้งานดี เงินเดือนสูงในธุรกิจการลงทุนตลอดช่วงชีวิตการทำงานของคุณได้ คุณสามารถทำเงินล้านได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ คุณสามารถเรียนรู้เพื่อสร้างผลงานที่สูงกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ยทั่วไปในระดับ 2 จุดต่อปีโดยอาศัยการทำงานอย่างหนัก มีไอคิวเกินกว่าค่าเฉลี่ยและการศึกษาค้นคว้าอย่างมากมาย ดังนั้นก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่การพูดของผมวันนี้จะเป็นตัวบั่นทอนให้ท่านหมดกำลังใจ คุณสามารถที่จะประกอบอาชีพที่สะพรั่งไปด้วยเงินๆทองๆให้ประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง แม้ว่าคุณไม่ได้เป็น วอร์เร็น บัฟเฟตต์ คนต่อไปก็ตาม

แต่ว่าคุณจะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนแบบทบต้นถึงระดับ 20%ได้ตลอดไปเว้นเสียแต่ว่าสมองคุณจะได้รับการร้อยเรียงผูกโยงถักสานอย่างแน่นหนา(hard-wired )มาตั้งแต่คุณอายุ 10 หรือ 11 หรือ 12 ขวบ ผมไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูมาแต่อ้อนแต่ออด แต่หากคุณเข้าสู่วัยรุ่นแล้วถ้ายังไม่มีสิ่งนี้เกิดขึ้นในสมองของคุณแล้วคุณก็ไม่สามารถจะทำให้มีขึ้นในภายหลังได้ เมื่อสมองของคุณผ่านขั้นตอนการพัฒนาการช่วงนี้ไปแล้วก็เป็นไปได้ว่าคุณจะมีความสามารถในระดับที่สามารถเคียงบ่าเคียงไหล่กับนักลงทุนอื่นๆได้ หรือ อีกกรณีก็คือทำไม่ได้เลย การเข้าศึกษาต่อที่ฮาเวิร์ดก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ได้ และการอ่านหนังสือทุกเล่มที่เคยเขียนมาทั้งหมดเกี่ยวการลงทุนก็ไม่สามารถช่วยได้เช่นกัน การมีประสบการณ์มายาวนานหลายปีก็ช่วยไม่ได้เช่นกัน ทั้งนี้สิ่งที่ว่ามาทุกอย่างทั้งหมดดังกล่าวล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจำเป็นในอันที่จะทำให้คุณก้าวขึ้นสู่การเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ได้ แต่คุณสมบัติเหล่านี้ทั้งหมดก็ยังไม่ถือว่าเพียงพอเพราะผู้เป็นคู่แข่งก็สามารถที่จะลอกเลียนแบบเพื่อทำให้เกิดคุณสมบัติที่ว่ามานี้ได้

ในทำนองเดียวกัน หากลองนึกคิดพิจารณาถึงกลยุทธ์การแข่งขันของบริษัทต่างๆในโลกแล้ว ผมมั่นใจว่าทุกท่านได้ลงเรียนวิชาเกี่ยวกับกลยุทธ์เหล่านี้มาแล้ว หรือวางแผนไว้ว่าจะลงเรียนวิชานี้ในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ ณ สถาบันแห่งนี้ คุณอาจจะเคยศึกษาผลงานวิจัยของไมเคิล พอร์เตอร์และหนังสือที่เขาแต่งไว้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผมเคยทำมาก่อนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนธุรกิจ ผมเรียนรู้อย่างมากมายจากการอ่านหนังสือต่างๆของเขาและก็ยังคงใช้ความรู้นี้อยู่เสมอๆเมื่อทำการวิเคราะห์บริษัทต่างๆ

ทีนี้เมื่อคุณก้าวขึ้นเป็น ซีอีโอ ของบริษัทหนึ่ง คุณคิดว่ามีอะไรบ้างที่เป็นความได้เปรียบซึ่งจะช่วยปกป้องบริษัทของคุณไม่ให้ได้รับอันตรายจากคู่แข่งขันได้ แล้วคุณจะขับเคลื่อนบริษัทของคุณอย่างไรเพื่อให้ก้าวสู่ระดับที่คุณสามารถพูดได้เต็มปากว่ามี"คูเมืองทางเศรษฐศาสตร์ล้อมรอบบริษัทอยู่(Economic moat)" ซึ่งบัฟเฟตต์เองเป็นผู้บัญญัติคำนี้ขึ้นมา

อย่างเช่นเทคโนโลยี่นี่ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นแหล่งของคูเมืองได้เพราะเป็นสิ่งใครก็สามารถลอกเลียนแบบได้ หากสิ่งนี้เป็นข้อได้เปรียบแต่เพียงอย่างเดียวที่คุณมีอยู่ในที่สุดแล้วก็จะมีคนลอกเลียนทำตามและก็จะเป็นเช่นนี้เสมอๆ สิ่งที่คุณจะคาดหวังได้ที่ดีที่สุดหากตกอยู่ในสถานะการณ์อย่างนี้ ก็คือ เสนอให้บริษัทอื่นเข้าซื้อบริษัทของคุณ หรือ จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนแล้วขายหุ้นทั้งหมดที่คุณมีอยู่ออกไปก่อนที่นักลงทุนทั้งหลายจะรู้ว่าบริษัทของคุณมีความได้เปรียบแบบไม่ยั่งยืน กล่าวได้ว่าเทคโนโลยี่เป็นข้อได้เปรียบชนิดที่มีอายุขัยสั้น มีอย่างอื่นอีกหลายประการที่ถือเป็นข้อได้เปรียบ ได้แก่ ทีมบริหารที่ดี หรือ แคมเปญการโฆษณาแบบที่ต้องตาต้องใจลูกค้า หรือ เป็นแนวโน้มของเฟชั่นที่มาแรงสุดๆ สิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าทำให้เกิดการได้เปรียบแค่ชั่วครั้งชั่วคราวแต่แล้วก็เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา หรือเป็นสิ่งที่คู่แข่งขันลอกเลียนแบบได้

เจ้าคูเมืองทางเศรษฐศาสตร์นั้นเกี่ยวโยงกับเรื่องของโครงสร้าง อย่างกับสายการบิน เซาท์เวสต์ ในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งพบว่ามันฝั่งรากลึกเข้าไปยังเนื้อในของวัฒนธรรมบริษัทตลอดจนพนักงานทุกๆคนในบริษัท จนถึงขั้นที่ว่าบริษัทใดก็ลอกเลียนไม่ได้ แม้ว่าใครๆก็รู้ดีว่าสายการบินเซาท์เวสต์กำลังบริหารงานเช่นไรอยู่ก็ตาม ถ้าหากว่าคู่แข่งของคุณทราบถึงความลับของคุณดีแต่ก็ยังไม่สามารถลอกเลียนแบบได้อยู่ดี นั่นแหละที่เขาเรียกว่า ความได้เปรียบทางโครงสร้าง นั่นก็คือคูเมือง นั่นเอง

หากพิจารณาอย่างที่ผมเข้าใจ โดยข้อเท็จจริงแล้วเราสามารถแบ่งคูเมืองทางเศรษฐศาสตร์ที่ยากต่อการลอกเลียนแบบออกได้เป็น 4 แบบอย่างซึ่งสามารถคงทนยั่งยืนนาน แบบแรกได้แก่ เรื่องของเศรษฐศาสตร์ด้านขนาดและขอบเขตที่ใหญ่โต ตัวอย่างนี้ คือ วอลล์-มาร์ท เช่นเดียวกับ ซินตัส ซึ่งทำธรุกิจให้เช่าชุดแบบฟอร์ม หรือ พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล หรือ โฮมดีพ๊อด หรือ โลว์'ส อีกแบบ ก็คือ ผลจากการที่มีเครือข่ายโยงใยมาก เช่น อีเบย์ หรือ มาสเตอร์การ์ด หรือ วีซ่า หรือ อเมริกัน เอ๊กเพร็ส แบบที่สาม ก็ได้แก่ สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความเห็นชอบยินยอมด้านกฎข้อบังคับ หรือ กู๊ดวิลล์ต่อลูกค้า ตัวอย่างที่ชัดเจน ได้แก่ ดิสนีย์ ไนกี้ เจนเน็นเทค แบบที่สี่และเป็นแบบสุดท้าย ก็คือ คูเมืองแบบว่าหากลูกค้าประสงค์จะยกเลิกเพื่อสลับเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของบริษัทอื่นจำเป็นต้องใช้ต้นทุนในการนี้ในระดับสูงมาก

ข้อได้เปรียบเพียง 4 ประการที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่คงทนถาวรเพราะยากมากๆที่คู่แข่งจะลอกเลียนแบบเอาไปใช้ได้ และก็เช่นเดียวกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งๆที่จำเป็นต้องพัฒนาคูเมืองขึ้นมาไม่เช่นนั้นแล้วกิจการก็ต้องเผชิญกับความยากลำบากอันเนื่องมาจากความธรรมดาสามัญนั่นเอง นักลงทุนก็เช่นกันจำเป็นต้องแสวงหาข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าในสนามของการแข่งขันมาไว้กับตนเองมิเช่นนั้นเขาก็ต้องเผชิญกับความทุกข์ทางกายใจอันเกิดจากความธรรมดาสามัญของตนนั่นเอง

ในตลาดหุ้นแต่ละวันจะมีผู้เล่นอยู่หลายกลุ่มปะปนกันไป อันประกอบไปด้วย กองทุนประกันความเสี่ยง 8,000 กองทุน กองทุนรวม 10,000 กองทุน และผู้เล่นอิสระอีกนับล้านๆราย แล้วท่านจะสร้างข้อได้เปรียบให้เหนือกว่าคนทั้งหลายเหล่านี้ได้อย่างไร อะไรคือแหล่งของคูเมืองเหล่านั้น

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า การอ่านหนังสือและนิตยสารและหนังสือพิมพ์อย่างมากมายไม่อาจถือได้ว่าเป็นแหล่งก่อให้เกิดคูเมืองอันหนึ่งแต่อย่างใด ใครก็ทำได้ไอ้เรื่องของการอ่านหนังสือนี้นะ การอ่านมีความสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่จะทำให้ท่านมีข้อได้เปรียบมากกว่าคนอื่นมากมายนัก มันเพียงแค่ทำให้ทันต่อเหตุการณ์แค่นั้นเอง ไม่ว่าใครๆในธุรกิจนี้ก็อ่านๆกันอย่างมโหฬารทั้งนั้นแหละ บางคนสามารถอ่านได้มากกว่าคนอื่น แต่ก็ไม่จำเป็นว่าเรื่องนี้จะทำให้ผมปักใจเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นระหว่างผลงานการลงทุนและจำนวนหนังสือที่อ่าน ถึงระดับหนึ่งเมื่อคุณสั่งสมสร้างฐานความรู้ของตนเองก็จะพบว่าผลตอบแทนที่ได้จากการอ่านมากๆจะเป็นไปในลักษณะถดถอยลงเรื่อยๆ และโดยความเป็นจริงแล้วการอ่านข่าวมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อผลงานด้านการลงทุนได้ เพราะมันจะทำให้คุณเริ่มเชื่อในสิ่งที่ไม่ค่อยมีเหตุมีผลที่นักหนังสือพิมพ์ทั้งหลายบรรจงเขียนลงในหนังสือพิมพ์ด้วยจุดประสงค์หลักเพียงเพื่อจะดันยอดขายหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆให้สูงขึ้น

อีกประการหนึ่ง ไอ้การได้ปริญญา MBAจากโรงเรียนชั้นนำ หรือ CFA หรือ PhD หรือ CPA หรือ MS หรือปริญญาบัตรอื่นๆและคำต่อท้ายแสดงวุฒิการอบรมอื่นๆอีกหลายๆโหลที่คุณได้รับมาก็ไม่สามารถทำให้คุณเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ได้ มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดก็ไม่สามารถสอนคุณให้เป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ได้หรอกหรือแม้แต่สถาบันที่ผมเป็นศิษย์เก่า คือ Northwestern University หรือ Chicago หรือ Wharton หรือ Standfordก็เช่นกัน ผมอยากจะบอกว่าการได้ปริญญา MBA เป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้คุณสามารถสร้างผลงานการลงทุนได้เท่ากับผลตอบแทนโดยรวมของตลาดหุ้นเป๊ะแค่นั้นเอง การได้ MBAสามารถช่วยลดความผิดพลาดในประวัติผลงานการลงทุนของคุณให้น้อยลงได้แบบหายห่วง ด้วยผลงานอย่างนี้ก็พอเพียงที่จะทำให้ได้รับเงินเดือนระดับสูงอยู่บ่อยๆแม้ว่าเรื่องนี้จะขัดแย้งกับหลักการที่นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ทำกัน คุณไม่อาจที่จะซื้อหรือเข้ารับศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งการเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ได้สร้างคูเมืองแก่คุณเลย ดีกรีหรือวุฒิบัตรต่างๆที่ว่ามาเหล่านี้เป็นแค่เพียงสิ่งที่จะชักนำหรือเชื้อเชิญให้เข้าร่วมเกมโปกเกอร์ง่ายขึ้นยิ่งกว่าปกติเท่านั้นเอง

ประสบการณ์ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่มักถูกให้ราคาสูงเกินจริง ผมหมายถึงว่า เจ้านี่ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็ไม่ได้เป็นแหล่งกำเนิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันแต่อย่างใด มันเป็นเพียงแค่คุณสมบัติหนึ่งที่ต้องการสำหรับใช้ประกอบการพิจารณารับเข้าทำงานแค่นั้นเอง เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วคุณค่าของประสบการณ์ก็เข้าสู่จุดของการให้ผลตอบแทนแบบถดถอย (diminishing returns) หากว่าเรื่องที่กล่าวมานี้ไม่จริง ก็แสดงผู้จัดการด้านการลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างผลงานการลงทุนที่ดีสุดของพวกเขาในช่วงระหว่างปีทศวรรษที่ 60 และ 70 และ 80 และเราก็ทราบกันดีว่าพวกเขาทำไม่ได้จริงๆ การมีประสบการณ์ในระดับหนึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการเข้าไปข้องเกี่ยวกับเกมการลงทุนเช่นนี้ แต่เมื่อถึงระดับหนึ่งประสบการณ์ก็ช่วยอะไรไม่ได้อีกต่อไปและไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆก็ตาม ประสบการณ์ไม่ได้เป็นแหล่งของคูเมืองทางเศรษฐศาสตร์สำหรับนักลงทุนแต่อย่างใด ชาร์ลี มังเกอร์พูดไว้เกี่ยวกับเรื่องว่านี้โดยสังเกตจากเมื่อตอนที่เขาพูดว่าคุณจะสามารถมองออกได้เลยว่าผู้ใดเป็นนักลงทุนแบบที่ว่า"ใช่เลย" และบางครั้งคนๆนั้นเกือบไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการลงทุนมาก่อนเลย

แล้วอะไรล่ะที่เป็นแหล่งของข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันสำหรับนักลงทุน ก็เหมือนอย่างกับบริษัทหรืออุตสาหกรรมนั่นแหละ คูเมืองของนักลงทุนก็คือเรื่องของโครงสร้าง สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาและเป็นจิตวิทยาที่ได้ถูกร้อยเรียงผูกโยงถักสานในสมองของคุณไว้เรียบร้อยก่อนแล้ว มันเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในตัวคุณ คุณเองไม่สามารถทำอะไรได้มากนักในอันที่จะเปลี่ยนแปลงด้านจิตวิทยาในตัวคุณได้แม้นว่าคุณจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนมามากมายก่ายกองเพียงใดก็ตาม

เท่าที่ผมพอจะประมวลออกมาได้ พบว่าอย่างน้อยที่สุดนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายจะต้องมีลักษณะนิสัยที่ติดตัวมาเหมือนๆกันอยู่ 7 อย่างซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของข้อได้เปรียบที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะลักษณะนิสัยเหล่านี้ไม่สามารถเรียนรู้เพื่อเอามาเป็นของตัวเองได้เมื่อผู้นั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยความเป็นจริงแล้วลักษณะนิสัยบางอย่างเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเรียนรู้เพื่อให้มันติดอยู่กับตัวได้เลยแม้แต่น้อย นั่นแสดงว่า คุณต้องเกิดมาพร้อมกับลักษณะนิสัยเหล่านั้น หรือมิเช่นนั้นก็แสดงว่าคุณไม่มีลักษณะนิสัยเหล่านี้ติดตัวมาเลยแม้แต่น้อย

ลักษณะนิสัย # 1 ก็คือ ความสามารถที่จะซื้อหุ้นต่างๆในขณะที่ผู้อื่นกำลังแตกตื่นอลหม่านหนีตาย และขายหุ้นต่างๆออกไปในขณะที่คนอื่นกำลังดื่มด่ำอยู่ในโลกของความสุขสดชื่นสมหวังตื่นตาตื่นใจ ไม่ว่าใครก็บอกว่าตัวเองทำได้แน่นอนกับเหตุการณ์อย่างนี้ แต่เมื่อวันที่ 19 เดือนตุลาคม ปี 1987 เข้ามาถึงและตลาดหุ้นล้มจมแบบถล่มทลาย กลับพบว่าเกือบไม่มีผู้ใดที่มีกะจิตกะใจและกึ๋นมากพอที่จะเข้าช้อนซื้อ เมื่อตอนที่ปี 1999 เข้ามาเยือนตลาดหุ้นมีราคาบวกเพิ่มขึ้นเกือบทุกวัน คุณก็ไม่สามารถชี้นำตัวคุณเองให้ขายหุ้นออกไปเพราะถ้าคุณทำเช่นนั้น คุณอาจได้กำไรน้อยหน้ากว่าเพื่อนคุณ ผู้คนที่ทำหน้าที่บริหารการลงทุนส่วนใหญ่มีปริญญา MBA และ ไอคิวสูง และอ่านหนังสือมามากมาย ช่วงท้ายๆของปี 1999 คนเหล่านี้ต่างทราบอย่างแน่ชัดว่าหุ้นต่างๆถูกปั่นราคาจนเกินความเป็นจริง และเขาเหล่านั้นก็ไม่สามารถทำใจแล้วตัดสินใจขายหุ้นเพื่อดึงเงินออกมาจากตลาดหุ้นได้ เพราะมันเป็นเรื่องของ "อาการของการทำตามๆของสถาบันการเงิน (institutional imperative)" ซึ่งเป็นคำที่บัฟเฟตต์บัญญัติไว้

ลักษณะนิสัย # 2 ลักษณะของนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่อีกประการคือ ความเป็นผู้มีความอยากในระดับเกินปกติที่จะเข้าไปเล่นเกมและมีความต้องการที่จะเอาชนะเท่านั้น คนเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะมีความสุขอยู่กับการลงทุนเท่านั้น พวกเขาถือเอาการลงทุนคือชีวิตของตนเอง เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้าสิ่งแรกที่พวกเขาจะนึกถึงแม้จะยังอยู่ในอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น ก็คือ หุ้นที่พวกเขากำลังค้นคว้าหาข้อมูลอยู่ หรือไม่ก็นึกถึงหุ้นที่พวกเขากำลังคิดจะขายออกไป หรือไม่ก็คิดว่าอะไรเป็นความเสี่ยงที่สุดกับพอร์ตโฟลิโอของเขาและจะสะกดความเสี่ยงนั้นให้อยู่หมัดได้อย่างไร พวกเขามักมีความยุ่งยากในเรื่องของความสัมพันธ์ส่วนตัว แม้ว่าโดยความเป็นจริงแล้วพวกเขาก็อาจชื่นชอบการพบปะกับผู้คนแต่พวกเขาไม่เคยแบ่งให้เวลาให้แก่ผู้คนเหล่านั้นอยู่เนืองๆ ในสมองของพวกเขาดาดดื่นไปด้วยเมฆหมอกที่อยู่บนฟ้าและนึกคิดฝันถึงแต่หุ้นต่างๆ นับว่าเป็นโชคที่ไม่ดีที่คุณไม่สามารถที่จะมีความอยากในระดับเกินปกติกับบางสิ่งบางอย่าง เป็นไปได้ที่คุณมีอยู่ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง คือ มีนิสัยอย่างนั้น หรือ ไม่มีเอาเสียเลย และหากคุณไม่มีลักษณะเช่นนี้เท่ากับว่าคุณก็ไม่อาจที่จะเป็น บรู๊ซ เบอร์โกวิซท์ คนต่อไปได้

ลักษณะนิสัย # 3 คือ มีความปราถนาอย่างแรงกล้าที่จะเรียนรู้ข้อผิดพลาดต่างๆในอดีต เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคนทั่วไปและถือได้ว่าเป็นตัวจำแนกแยกแยะนักลงทุนบางกลุ่มออกมาต่างหากนั่นก็คือความประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะเรียนรู้ความผิดพลาดต่างๆของตัวเองเพื่อว่าเขาเหล่านี้จะได้หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเดิมนั้ซ้ำอีก คนส่วนใหญ่มักจะเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆและละเลยต่อเรื่องโง่ๆที่พวกเขาได้เคยทำไว้ ผมเชื่อว่าคำที่เหมาะสมสำหรับอาการนี้ก็คือ ความเก็บกด (repression) แต่ถ้าคุณละเลยข้อผิดพลาดต่างๆโดยปราศจากการประเมินวิเคราะห์ข้อผิดพลาดนั้นๆอย่างจริงจัง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณจะต้องทำข้อผิดพลาดอย่างเก่านี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกในอาชีพของคุณในอนาคตข้างหน้า ตามความเป็นจริงแล้ว แม้คุณจะมีการวิเคราะห์ประเมินข้อผิดพลาดเหล่านั้นมาแล้วก็ตามก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดต่างๆเหล่านี้ซ้ำได้อีก

ลักษณะนิสัย # 4 คือ ความสำนึกที่ติดตัวมาในเรื่องของความเสี่ยงโดยอาศัยสามัญสำนึกเป็นหลัก ผู้คนส่วนใหญ่ทราบดีเกี่ยวกับเรื่องของ Long Term Capital Management ซึ่งเป็นกองทุนที่มีทีมผู้บริหารมีดีกรีระดับ PhDจำนวนมากถึง 60 หรือ 70 คน หากย้อนหลังกลับไปดูอดีต ก็พบว่าแม้จะได้มีการใช้โมเดลสำหรับบริหารความเสี่ยงชนิดสลับซับซ้อนก็ตามแต่ก็ยังไม่สามารถหยั่งรู้ถึงสิ่งที่สามารถมองเห็นจะๆอย่างชัดเเจนได้ พวกเขาได้ลงทุนโดยอาศัยการกู้ยืมในอัตราที่สูงผิดปกติมาก พวกเขาไม่เคยก้าวถอยหลังออกมาแล้วพูดกับพวกตัวเขาเองว่า "นี่ แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะบอกว่าที่ทำไปนั้นใช้ได้ไม่มีปัญหา แล้วในความเป็นจริงล่ะมันดูเข้าท่าหรือเปล่า" ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการที่จะทำได้อย่างคนเป็นๆทั่วๆไปทำกันอยู่เยอะแยะจึงมีให้เห็นไม่มากอย่างที่คุณคิด ผมเชื่อว่าสามัญสำนึกเป็นเครื่องมือควบคุมความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่ผู้คนก็ตกอยู่ในภาวะนิสัยของการนอนหลับอย่างสบายในตอนกลางคืนเพียงเพราะคอมพิวเตอร์บอกว่าพวกเขาควรจะสบายใจได้ พวกเขาละเลยสามัญสำนึก ซึ่งถือเป็นข้อผิดพลาดที่ผมเห็นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในโลกของการลงทุน

ลักษณะนิสัย #5 นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่มีความมั่นใจในสิ่งต่างๆที่ตนเชื่อมั่นและจะไม่ยอมละจากความเชื่อเหล่านั้น แม้จะต้องเผชิญกับการถูกตำหนิติเตียน บัฟเฟตต์ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับธรุกิจดอท-คอมที่ผู้คนกำลังคลั่ง จนเขาเองถึงกับถูกตำหนิติเตียนในที่สาธารณะเพราะละเลยหุ้นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี่ เขายังคงยึดมั่นในหลักการของเขาในขณะที่คนอื่นๆละทิ้งแนวการลงทุนแบบประเมินมูลค่า (Value Investing) และนิตยสาร Barron's ถึงกับลงรูปของเขาขึ้นปกพร้อมประโยคพาดหัวว่า "มีอะไรไม่ปกติหรือเปล่าหะ วอร์เร็น?" แน่นอนว่า สำหรับเขาแล้วมันยอดเยี่ยมอย่างที่สุดและก็เลยทำให้นิตยสาร Barron's ดูจะกลายไปเป็นเครื่องบ่งชี้ไปคนละทางกับเขาที่สมบูรณ์แบบทีเดียว โดยส่วนตัวแล้ว ผมรู้สึกฉงนต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่มีอยู่น้อยนิดต่อหุ้นที่พวกเขาซื้อเข้าพอร์ต แทนที่จะลงมือซื้อหุ้นไว้สัก 20% ของพอร์ตตามที่ผลจากสูตรเคลลี่(Kelly Formula)อาจแนะนำไว้ คนเหล่านี้จะซื้อไว้แค่ 2% ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเสี่ยงดวงกับหุ้นที่มีโอกาสราคาเพิ่มสูงขึ้น 51% และมีโอกาสราคาลดต่ำลง 49% ทำไมคุณจะต้องมาเสียเวลากับแค่เสี่ยงดวงกับหุ้นที่มีโอกาสราคาเพิ่มขึ้น 51% คนเหล่านี้ได้รับเงินเดือน 1 ล้านเหรียญปีเพื่อเสาะค้นหาให้ได้ว่าหุ้นตัวไหนที่มีโอกาสราคาเพิ่มขึ้น 51% มันเป็นเรื่องน่าโง่เขลาจริงๆ

ลักษณะนิสัย #6 เป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องใช้สมองทั้งสองซีกของคุณ ไม่ใช่ว่าใช้แค่เพียงสมองซีกซ้าย(เป็นข้างที่ใช้งานได้ดีในเรื่องทางคณิตศาสตร์และการจัดระบบระเบียบ) ผมเคยพบผู้คนมากมายในโรงเรียนสอนด้านธุรกิจผู้มีความเฉลี่ยวฉลาดอย่างไม่น่าเชื่อ แต่พวกที่เรียนวิชาเอกด้านการเงินไม่สามารถเขียนสื่อสารอะไรที่มีคุณภาพดีไปกว่าคำว่าความห่วย และมักเกิดความยุ่งยากเมื่อต้องให้หาหนทางที่สร้างสรรเพื่อเอามาใช้ประเมินปัญหาที่เกิดขึ้น เรื่องนี้ทำให้ผมก็รู้สึกตกอกตกใจอยู่นิดๆ ต่อมาภายหลังผมถึงทราบว่าผู้คนที่เฉลี่ยวฉลาดจริงๆเหล่านี้บางคนใช้งานสมองด้านซีกซ้ายแต่ข้างเพียงเดียวเท่านั้น และนั่นก็ถือว่าใช้ได้ดีในระดับหนึ่งกับการอยู่ในโลกใบนี้แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้กลายเป็นนักลงทุนแบบผู้ประกอบการซึ่งต้องเป็นผู้ที่คิดแตกต่างไปจากฝูงคนทั้งหลายทั่วๆไป ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณเน้นใช้สมองซีกขวาแต่เพียงโดดๆ คุณน่าจะเป็นคนหลบเลี่ยงหลีกหนีวิชาคณิตศาสตร์ และมักไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนักที่คนกลุ่มนี้ที่จะเลือกเข้ามาเรียนรู้โลกของวิชาการเงิน พวกนักการเงินมักจะเป็นพวกที่นิยมใช้สมองซีกซ้ายและผมคิดว่ามันเป็นปัญหา ผมเชื่อว่านักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่จำเป็นต้องเปิดสวิทช์ให้สมองของตนเองใช้งานทั้งสองซีก การเป็นนักลงทุนคุณจำเป็นต้องคิดคำนวณตัวเลขต่างๆและการตั้งสมมุติฐานการลงทุนอย่างมีตรรกะ การคิดแบบนี้จะทำให้สมองซีกซ้ายของคุณทำงาน แต่เท่านั้นยังไม่พอคุณต้องสามารถที่จะทำสิ่งอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การพิจารณาตัดสินทีมงานบริหารจากสัญญานต่างๆที่แสดงออกมาซึ่งแถบจะเกือบมองไม่เห็นเลย (เช่น คำพูด ท่าทาง) ในสถานะการณ์บางอย่างคุณต้องสามารถที่จะก้าวถอยหลังออกมาและมองภาพรวมทั้งหมดแทนที่จะเอาเป็นเอาตายอยู่แค่กับการวิเคราะห์เจาะลึก คุณต้องมีอารมณ์ขันและความอ่อนน้อมถ่อมตัวและความมีสามัญสำนึก และที่สำคัญที่สุด คุณต้องเป็นนักเขียนที่ดี ลองดูที่ตัวบัฟเฟตต์ เขาเป็นหนึ่งในนักเขียนที่ดีที่สุดของโลกที่เคยมีมา และก็ไม่ได้เป็นสิ่งบังเอิญของการมาประจวบเหมาะกันว่าเขาก็ยังเป็นนักลงทุนที่ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาและในอนาคตต่อๆไป ถ้าหากคุณไม่สามารถเขียนสื่อสารได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ผมเองเห็นว่าคุณยังคิดได้ไม่ทะลุปรุโปร่งแจ่มแจ้งมากนัก และถ้าคุณไม่สามารถคิดได้จนกระทั่งทะลุปรุโปร่งแจ่มแจ้งคุณก็ต้องมีปัญหาแน่ มีผู้คนที่มีไอคิวระดับอัจฉริยะมากมายที่ไม่สามารถคิดได้อย่างทะลุปรุโปร่งแม้ว่าเขาเหล่านี้จะสามารถหามูลค่าตั้งราคาพันธบัตรหรืออ๊อฟชั่นจากสมองของเขาเองโดยไม่อาศัยอุปกรณ์อย่างอื่นก็ตาม

และข้อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดและถือเป็นลักษณะนิสัยที่หาได้ยากสุดๆในบรรดาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด นั่นคือ ความสามารถที่จะยืนหยัดอยู่กับกระบวนการวิธีคิดสำหรับการลงทุนของตนเองแม้ต้องเผชิญกับความผันผวนวูบวาบหวือหวาของตลาดหุ้นก็ตาม เกือบเป็นไปไม่ได้เลยที่คนทั่วไปจะทำอย่างนี้ได้ เมื่อราคาหุ้นตกต่ำลดลงมา พวกเขาก็จะมีปัญหากับเรื่องของการที่ต้องอดทนต่อภาวะย่ำแย่ด้วยการยืนหยัดไม่ยอมขายหุ้นของตนเองออกไป ณ ที่ราคาขาดทุน ผู้คนทั่วไปไม่ชอบความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นแค่ช่วงเวลาสั้นๆแม้นว่าถ้ารอต่อไปในระยะยาวๆจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็ตาม มีนักลงทุนอยู่เพียงน้อยนิดไม่กี่คนที่สามารถจัดการกับความผันผวนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างผลตอบแทนให้ได้อัตราสูงแก่พอร์ตโฟลิโอ พวกผู้คนทั่วไปเขามองว่าความผันผวนในระยะเวลาสั้นๆเป็นความเสี่ยง ความเห็นอย่างนี้ไม่เข้าท่าเลย เพราะความเสี่ยงหมายความว่าถ้าหุ้นที่คุณเสี่ยงวัดดวงลงทุนไปเป็นหุ้นที่คุณวิเคราะห์พลาดพลั้งไม่ถูกต้องคุณก็ต้องขาดทุน การเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงของราคาหุ้นแค่ช่วงเวลาไม่นานนักไม่ได้เป็นการขาดทุน ฉะนั้นจึงไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง เว้นเสียแต่ว่าคุณจะหวั่นไหวโอนเอียงไปกับความตื่นตระหนกหวาดกลัวเมื่อราคาหุ้นดิ่งลงสู่ก้นเหวและตัดใจลงมือขายขาดทุนออกไป แต่ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่สามารถที่จะมองเห็นอย่างที่อธิบายมานี้ สมองของคนเหล่านี้จะไม่ยอมให้เขามองเห็นอย่างนั้น สัญชาตญานแห่งความตื่นตระหนกหวาดกลัวของคนเหล่านี้จะเข้าครอบงำและปิดกั้นสมองไม่ให้ทำงานอย่างที่เคยทำตามปกติแต่เดิมได้

ผมขอโต้แย้งเลยว่าเมื่อผู้ใดมีอายุล่วงเข้าสู่วัยเป็นผู้ใหญ่แล้วเป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจะสามารถเรียนรู้เพื่อนำเอาลักษณะนิสัยเหล่านี้มาเก็บไว้กับตนเอง เพราะศักยะภาพในการที่จะเป็นนักลงทุนผู้โดดเด่นในช่วงชีวิตที่เหลือของคุณได้รับการตัดสินประเมินผลไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อตอนที่คุณล่วงเข้าสู่วัยเป็นผู้ใหญ่ เป็นไปได้ที่จะขัดเกลาให้ลักษณะนิสัยนี้ปรากฏเด่นขึ้นมาได้ แต่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถพัฒนาขึ้นมาจากจุดศูนย์เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วต้องขึ้นอยู่กับว่าสมองของคุณได้รับการร้อยเรียงผูกโยงถักสานอย่างแน่นหนาและประสบการณ์ต่างๆที่เคยประสบมาครั้งในวัยเด็ก นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการศึกษาเรียนรู้ด้านการเงินและการอ่านและประสบการณ์ในการลงทุนไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด สิ่งเหล่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดก็แค่เพียงใช้เป็นใบเบิกทางเข้าไปเล่นเกมและเล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ใครก็สามารถลอกเลียนแบบเอาไปใช้ได้ แต่ลักษณะนิสัยเจ็ดอย่างที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งที่ลอกเลียนไม่ได้

โอเค ผมทราบดีว่าข้อมูลที่พูดมาเยอะมากและผมต้องการให้มีเวลาสำหรับคำถาม ฉะนั้นผมจะขอจบไว้แค่นี้
สงวนลิขสิทธิ์, มาร์ค เซลเลอร์ส, 2007

วันอาทิตย์, ตุลาคม ๒๑, ๒๕๕๐

บัฟเฟตต์ ขาย เพ็ทโตรไชน่า

โดย ลิซ คลามาน ผู้อ่านข่าวแห่ง ฟ๊อกซ์ บิสซิเนสส์
เมื่อ 18 ต.ค.2550

Liz: มีดีลหนึ่งที่ถือว่าเป็นดีลขนาดใหญ่มากของเบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์ นั่นคือ หุ้นเพ็ทโตรไชน่า ผู้คนจำนวนมากให้ความสนใจต่อการซื้อหุ้นดังกล่าวของคุณและการขายออกไปในเวลาต่อมา นับว่าเป็นหุ้นที่มีผู้ถกเถียงแสดงความคิดเห็นไม่ลงรอยกันตามที่คุณก็ทราบๆดี ทั้งนี้เพราะบริษัทแม่ของบริษัทนี้ คือ ไชน่า เปโตรเลียม ซึ่งเป็นของรัฐบาลจีนได้ตกลงทำสัญญากับรัฐบาลประเทศซูดาน แน่นอนว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีบุชได้กล่าวหาว่ารัฐบาลซูดานข้องเกี่ยวและต้องรับผิดชอบต่อการวางแผนและสั่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ประชาชนที่ไม่ใช่พวกพ้องตนที่เมืองดาร์ฟู ในเดือนพฤษภาคมดิฉันได้เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของ เบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์ มีผู้ถือหุ้นบางคนที่ไม่สบายใจอย่างสุดๆได้ลุกขึ้นแสดงความเห็นเกี่ยวกับการถือหุ้นนี้และได้เสนอให้คุณขายออกไป แต่คุณไม่เห็นด้วย จึงให้มีการโหวตเสียง ผลปรากฏผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่อยู่ข้างคุณ คุณจึงยังไม่ขายหุ้นดังกล่าวซึ่งตอนนั้นเป็นเดือนพฤษภาคม และปรากฏตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมาคุณเริ่มขายหุ้นบริษัทนี้ออกไป ......คุณได้ขายหุ้นเพ็ทโทรไชน่าออกไปทั้งหมดแล้วหรือยังคะ?

Buffett: การขายหุ้นของเราพิจารณาจากราคาเป็นหลัก ไม่เกี่ยวอะไรกับอย่างอื่น ในช่วงเวลาประชุมใหญ่ประจำเดือนพฤษภาคมในตลาดหุ้นอเมริการาคาหุ้นนี้อยู่ที่ราว 110 เหรียญสหรัฐ ผมคิดว่าราคาขึ้นมามากกว่า 2เท่า และผมคิดว่าเราก็ขายค่อนข้างเร็วไปหน่อย และบอกให้เชื่อได้เลยร้อยเปอร์เซนต์ว่าเป็นการขายบนพื้นฐานของการประเมินมูลค่า ตอนที่เราซื้อ เพ็ทโตรไชน่า ราคาขายของทั้งบริษัทอยู่ที่ 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคิดจากราคาต่อหุ้นคูณกับจำนวนหุ้นทั้งหมด ตอนขาย เราขายที่ราคาต่างๆกันไป ทั้งนี้โดยราคาเพิ่มขึ้น 8 เท่าของราคาเดิม คือที่ 275โทษๆ ผมบอกผิดไป ราคาต้นทุนของเราอยู่ที่ 20เหรียญสหรัฐต่อหุ้น และขายไป ณ ราคาราว 160 ถึง 200 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น

Liz: ได้กำไรดีมากเลยนะคะ

Buffett: เราได้กำไร 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากต้นทุนราว 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เราขายเร็วไป นับตั้งแต่วันที่เราขายไป ราคาหุ้นพุ่งขึ้นอีก มีคนพูดว่า วอร์เร็นขายไปเท่ากับส่งสัญญานให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น

Liz: เท่ากับเสียโอกาสได้กำไรไปเยอะ และเป็นการขาดทุนกำไร

Buffett: เยอะมาก ถูกต้องทีเดียว ใช่ขาดทุนกำไร ชาร์ลี บอกว่า เขาจะต้องทำได้อีก

Liz: คุณจะไม่พยายามบอกคนทั่วไปที่ไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้นมาก่อนว่าอย่างไรบ้างเหรอ คุณจะให้คำแนะนำอย่างไร หรือไม่ใช่ว่า ให้เพียงนั่งรออย่างต่อเนื่อง แล้วซื้อแล้วรอ เดี๋ยวราคาจะขึ้น ๆ เอง

Buffett: เราไม่ได้คิดอย่างนั้น วิธีคิดของเราคือ ต้องดูว่าบริษัทกำลังขายอยู่ที่ราคาเท่าใด และเราเองประเมินบริษัทไว้ว่ามีมูลค่าอยู่เท่าใด เมื่อตอนที่ซื้อหุ้นนี้จริงๆ ณ ราคา 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ผมเชื่อว่าบริษัทนี้น่าจะมีมูลค่าอย่างต่ำอยู่ที่ราวๆ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

Liz: มีอะไรทำให้คุณสนใจหุ้นตัวนี้และเช่นไร คุณเจอหุ้นอย่างเพ็ทโตร ไชน่าได้อย่างไร

Buffett: ผมนั่งอยู่ที่สำนักงานของผมและได้รายงานประจำปีมา โชคดีที่เป็นภาษาอังกฤษ ในรายงานบรรยายถึงเรื่องต่างๆของบริษัท บอกถึงปริมาณน้ำมันสำรอง บอกเกี่ยวกับโรงกลั่น และ เคมีภัณฑ์ และอะไรต่อมิอะไรอีกมาก ผมนั่งอ่านอยู่ที่นั่นและบอกกับตัวเองว่าบริษัทนี้มีมูลอยู่ที่ราว 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ผมไม่ได้ดูราคาหุ้นเป็นลำดับแรก ผมพิจารณาดูธุรกิจเพื่อประเมินมูลค่าเสียก่อน เพราะการดูราคาหุ้นก่อนจะมีอิทธิพลต่อการประเมินราคาได้ ดังนั้นผมพิจารณาดูบริษัทและพยายามประเมินมูลค่าให้ได้เสียก่อน แล้วจึงมาดูราคาหุ้น หากราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่เราเพิ่งประเมินไว้ เราก็ตัดสินใจซื้อหุ้นบริษัทนั้น

Liz: แล้วคุณประเมินมูลค่าบริษัทอย่างไร

Buffett: เอ่อ มันเป็นเคล็ดลับ(ความสามารถเฉพาะตัว) แต่ที่สำคัญแล้วเป็นเรื่องของการที่ผมต้องจ่ายเงินซื้อทั้งบริษัทเท่าใด และดูว่าจะซื้อได้หรือไม่ เมื่อตอนที่เราขายหุ้นนี้ออกไปเราประเมินว่าบริษัทนี้มีมูลค่าอยู่ที่ 250 - 275 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเราก็เชื่อว่าเป็นมูลค่าที่เหมาะสม เพราะราคาน้ำมันดิบเพิ่มจาก 30ไปเป็น 75 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และตอนนี้ก็ยังขยับราคาสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ วันนี้ เออต้องเมื่อวานซิ ผมเชื่อว่าของบริษัท เพ็ทโตรไชน่า มีมูลค่าสูงที่สุดอยู่ในลำดับที่สองของโลก มากยิ่งกว่า จีอี และแอกซอน เสียอีก

Liz: คุณได้ขายหุ้นออกไปทั้งหมดแล้วใช่ไหม

Buffett: ใช่ ได้ขายไปหมดแล้ว ผมหวังว่าจะขายได้หมด และผมก็ได้ขายออกไปหมดแล้ว

Liz: ขายออกไปทีเดียว หรือไม่

Buffett: เราทยอยขายออกไปเป็นระยะๆในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ถ้าราคาหุ้นนี้ลดลงมามากๆ เราจะกลับเข้าไปซื้ออีก

Liz: แรงกดดันจากปัญหาการเมืองหรืออย่างเรื่องที่ทำให้ผู้คนตกใจสุดขีดต่อเหตุการณ์ที่เมืองดาร์ฟูไม่ได้มีผลต่อการที่คุณจะซื้อหรือขายหุ้นเชียวหรือ

Buffett: รัฐบาลจีนถือหุ้นเพ็ทโตร ไชน่า ในสัดส่วน 88% นอกจากนี้ยังถือหุ้นและควบคุมบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 29 แห่งจากจำนวนบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 30 แห่งของประเทศ รัฐบาลจีนมีสถานะและความสัมพันธ์กับประเทศซูดาน ถ้าคุณถือหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่งใน 30 แห่งที่ใหญ่ที่สุดของจีนซึ่งเป็นบริษัทมหาชนซื้อขายในตลาดหุ้นของจีนขณะนี้ ก็เท่ากับว่าคุณมีรัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทนั้นๆ คำถามก็ คือ คุณจำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของรัฐบาลหรือไม่

Liz: คุณมีหมายกำหนดการที่จะไปร่วมงานทำพิธีเปิดงานเฉลิมฉลองและตัดริบบินที่ประเทศจีนอาทิตย์หน้าใช่หรือไม่

Buffett: ใช่ นั่นคือ ความเก่งของผม ผมคุ้นเคยกับเรื่องอย่างนี้

Liz: คุณต้องเก่งในเรื่องการตัดริบบินอย่างนี้แน่

Buffett: ใช่ ผมคุ้นเคยกับเรื่องนี้

Liz: คุณกำลังมองหาบริษัทใดบ้างในเมืองจีน

Buffett: ผมไม่ได้มองหาบริษัท โดยยึดเอา .....คำตอบ น่าจะเป็น ไม่ ผมไม่ได้มองหาโดยถือเอาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นเกณฑ์ ผมเพียงแต่พยายามอ่าน
รายงานประจำปีของบริษัทต่างๆทุกบริษัทให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วพยายามประเมินออกมาให้ได้ว่ามีอันไหนที่ราคาถูกหรือไม่

Liz: คุณค้นหารายงานประจำปีของบริษัทอย่าง เพ็ทโตร ไชน่าเจอได้อย่างไรเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เพราะเป็นชื่อที่ผู้คนไม่คุ้นหูเอาเสียเลย

Buffett: คนอื่นเขาอ่านนิตยสารเพลย์บอยกัน (Liz หัวเราะ แบบขำๆ และ เขินๆ) แต่สำหรับผม ผมอ่านรายงานประจำปี นั่นคืองานที่ผมทำอยู่ ผมหมายความถึงงานของการจัดสรรเงินเพื่อการลงทุน ฉะนั้นหนทางที่จะจัดสรรเงินลงทุนให้ได้ผมก็ต้องมองหาโอกาสเพื่อนำเม็ดเงินเข้าไปลงทุน

Liz: อะไรคือการลงทุนที่ดีที่สุดตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาของคุณ สต๊อคอะไรที่ถือว่าดีที่สุดเท่าที่เคยลงทุนมา

คลิบจบเสียก่อน... เลยไม่ได้คำตอบ :(

............................................................................................

ที่จริงแล้ว ...คำตอบต่อคำถามสุดท้ายของ Liz ก็อยู่ในตอนท้ายของบทความของ video-audio การสัมภาษณ์รายการนี้นี่เอง .....ไม่น่ามองข้ามไปได้ ขาดความรอบคอบ อย่างนี้ ถ้าเป็นการวิเคราะห์หุ้น เลิ่นเล่ออย่างนี้ ....มีโอกาสพลาดตกรถได้
........................................
Claman, who debuted as an anchor with FOX Business Network with the interview, asked Buffett for his best investment. He noted he bought the original Berkshire for $7 a share, and it now trades for $129,000 a share. He also mentioned his investment in Geico auto insurance.

เอ้า ......แปลให้ครบถ้วนกระบวนความก้แล้วกัน 8-)

คลามาน,ผู้อ่านข่าวแห่ง ฟ๊อกซ บิสซิเนสส์ เน็ตเวอร์คซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สัมภาษณ์, ถามบัฟเฟตต์ถึงการลงทุนที่ทำได้ดีที่สุดนั้น บัฟเฟตต์ บอกว่า เขาซื้อ เบิร์กชัวร์ ที่ราคาต้นทุน 7 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น ถึงขณะนี้ซึ้อขายกันที่ 129,000 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น เขายังเอ่ยถึงการลงทุนของเขาใน บริษัทประกันภัยรถยนต์ที่ชื่อ Geico

วันอาทิตย์, พฤษภาคม ๒๗, ๒๕๕๐

เบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์พบผู้สื่อข่าว ตอนที่ 2

Q: You're increasing your holdings in foreign businesses, but not in Japan. What is your analysis? Do you not find Japan attractive? Why?

WB: We've owned stock in four or five Japanese businesses but below the thresholds for reporting. We'd be quite happy to own more. We've tried to buy entire companies in the past without success. We haven't found a lot that look good from a valuation perspective, but we'd love to buy entire Japanese businesses.

CM: We would have owned more stocks if we weren't stupid.

WB: That's true a lot. People like John Templeton found Japan way before everyone else did. I was busy with other things ... probably sucking my thumb.

Q: [from The Guardian] What are your views on the U.K. investment environment? We're about to have a new prime minister [Gordon Brown] -- what would you want him to do?

WB: Raise the 3% reporting threshold for buying businesses. It's always a problem, because there are people who jump in when they find we're buying, and that drives the price up and makes it less attractive for us. If it's a £10 billion business, we have to report when we invest £300 million ($600 million). We like to invest billions.

CM: They're not going to change it just for you.

WB: But we're just as comfortable looking at things on the FTSE than on the S&P.

Q: [from the Times of London] Tell us more about this animation series you mentioned yesterday at the annual meeting.

WB: Andy Huard -- he did "Liberty's Kids" -- is doing it. He's recorded my voice. I'm not writing it but am approving the ideas and can have some editorial input. I like not writing, and I like what he hopes to do. Directed at kids, ages 7-11, tells stories, and hope to get across some ideas to give good habits -- things like steering them away from credit cards, and the like. Sell a few more on Charlie's "Ben Franklin virtues." We're not doing it for money.

Q: [from Bankrate] You're a known supporter of the federal estate tax. This hurts family farm owners, particularly with the $1 million threshold for the tax. Is there a fairer way?

WB: Well, let's say that we raise $30 billion per year from the estate tax, and we then get rid of it. From whom else shall we raise the money. All taxes are unpleasant and hurt, so what is the fairest way to distribute the hurt. We could replace it with a $1,000 tax on the 30,000,000 poorest families, which wouldn't be too popular. We want to hear them suggest an alternative, but they never do.

About 2 million Americans died last year. Estate taxes were filed on less than 2%, and about half the money was raised from 4,000 people. The average after-tax for those folks was over $40 million. If they're receiving $40 million after tax, I'm not too concerned.

CM: You'd support raising the exemption from $1 million to $2 million?

WB: OK, but I think it should get aggressive as the inheritance goes up. As a nation, we didn't believe in the divine right of kings, and we shouldn't believe in the divine rights of the womb. Resources shouldn't reside in those who picked the right womb. We wouldn't want to send an Olympic team made up of the first-born children from the team of 25 years ago. We don't reward members of the "lucky sperm club" in other areas of the world. Why here?

Other than that, I have no opinion.

And I'm seeing Hillary Clinton later tonight, so we'll have much to talk about. (Laughter.)

Q: You have said that you're interested in owning for the long term and you have a bias against divesting anything. With everything that's currently going on, don't you think that a company like yours could make a difference in ethics?

WB: I don't think so. The group that was there yesterday thought we don't do things ethically. But say they were Wesco shareholders -- they couldn't affect the way Berkshire does things. Even the government is limited in how much it can do regarding China. The idea of selling our shares just doesn't make any sense. As another example, Charlie like Costco (NYSE: COST) a lot; perhaps even more than he likes Berkshire. But Costco is the third-largest seller of cigarettes in the U.S. They are right up front in Costco, and they are also marked with some of the lowest margins in the store. But I'm not about to sell Costco stock because they sell cigarettes. As another example, we went to Memphis about 25 years ago to meet with a company. It was a great business, great people, and they sold chewing tobacco.

CM: And they all chewed their own product.

WB: They were terrific people, and they preferred to be bought by Berkshire. We ended up deciding not to buy it, but at the same time that wouldn't prevent me from going out the next day and buying shares of UST (NYSE: UST) -- a major smokeless tobacco company. We also ran ads in the Buffalo News for investing products that I don't like. It's likewise ridiculous to say that one oil company is "purer" than another, since oil is such a commodity. The people yesterday probably would have like to see us sell off all of our position in PetroChina to sink the stock, but that would make no sense. Sudan is going to continue to sell oil, and if the Chinese were to pull out they might even be better off because they'd sell it to someone else and potentially get an even better price. There's a limited supply of oil out there, and though the U.S. doesn't buy Sudan's oil, we sure don't want to see that supply taken off the market.

CM: That said, there are some people that we won't deal with because of morals.

WB: Yes, when we have a say. When PetroChina was planning on issuing shares a few years ago I wrote to them and told them it was a bad idea, they went ahead with it anyway. Overall, we've had little luck changing the way companies operate that we don't own a controlling position in.

CM: The conditions in Darfur are just so terrible and so it's not surprising that people want to do something and strike out against it.

Q: [from CHBC-TV] You have said that return on equity is important for the investment decisions that you make. Just how important is ROE to you currently in making your investments?

WB: Return on capital employed determines how good a given business is. The railroad business, for instance, is not a business that is particularly good in that respect. The Coca-Cola company will make around $7 billion in pre-tax on capital employed that could be $4 [billion] to $5 billion if they wish. See's last year made $75 million on $40 million of capital employed. Union Pacific will spend $2 [billion] to $3 billion for its rails. Return on capital is just not all that high.

While return on capital employed is important, it's even better when you can generate the same returns as you increase the amount of capital employed. The question is how much does it need and how much does it get in return. We really love to see a business with increasing returns on capital employed that can use incremental capital and earn at that same rate. Such businesses are practically nonexistent.

CM: We have all kinds of businesses at Berkshire. Some take a lot of capital, and there are others that don't need as much.

WB: Our utility businesses take lots of capital just to keep up. We'll never get really high returns on that business, and we shouldn't. We have been given the monopoly with those businesses so there's no reason that we should get a bonanza for it.

Q: There are many Asian countries, Singapore in particular, that have been amassing a lot of foreign reserves. What would be your recommendation to the managers of these funds to grow them and do good for the people of the country?

WB: They've done pretty well without us. China was going to buy Unocal with some of those reserves, and we went crazy, even though we were the ones that gave them that money buy buying their products. With a long-term strategy, there are a lot of considerations, and one isn't necessarily doing something that will increase the people's standard of living on that day.

CM: Singapore has managed itself more intelligently than the U.S. The country has come a long way from some horrible beginnings. We should be listening to them.

Q: We've heard a lot about investing today. Can you tell us about how life has been as a newlywed? And Charlie, do you feel slighted that you weren't invited?

WB: We kept it small. We had a judge, my daughter, my wife's sister, two dogs, and a cat -- though they weren't invited. We wanted to keep it quiet until it was done. I hope that I look better than I did last year for it.

Q: With the number of subsidiaries that Berkshire has, how do you get comfortable with succession at any level?

WB: Given the number of managers that we have, I have to be ready to replace any one of them tomorrow. Every couple of years, I ask that each manager send me a letter that gives his suggestion for what I should do if he is gone tomorrow. Along with giving me a suggestion for a replacement, I also ask for the strengths and weaknesses of that person. I've read all of these letters and I know who they're talking about. In some cases we have guys who are 95% as good as the manager currently in place, while in others cases we have someone that's maybe 60% as good. It's always difficult to have to replace a superstar.

But our managers don't leave, and they don't die. I tie immortality into the contract negotiations -- I use immortality whenever I need a tie-breaker. Mr. B. died at 104 after quitting at 103. I use this as an example for my managers of how bad it is to quit.

There are a couple of times where I've had to make a change, but I always hate to do that.

CM: Bringing somebody in from outside Berkshire almost doesn't happen. Most of our replacements work out really well.

WB: Most people working for us like what they're doing and so they want to stay put. Being No. 2 can be difficult because we don't have a mandatory retirement age, and so they can't just wait around for the guy above them to retire. Sometimes this can be bad because people want to move up, but we haven't seen much of this.

CM: Our system is really radically different than what everyone else does. It has been working a lot better.

Q: What do you see as the benefits to joining the EU, and what do you think about opportunities in Estonia?

WB: Our attitude on this is nothing special. We're very happy to buy companies in the EU, and it helps that they have a single currency that stays relatively stable. In general, we don't look at specific sectors or geographies. Charlie and I read the papers every day and get ideas from there, and we also get phone calls sometimes that give us ideas. But we don't have discussions about specific industries or countries.

CM: We also don't have an opinion on Latvian countries joining the EU.

Q: Some people in South Korea say for a variety of reasons that your style of value investing is not applicable in South Korea. Do you think that it is? What advice do you have for the Buffett maniacs in South Korea?

WB: Value investing makes sense any place. When I went to invest personally in Korea I looked for value. Posco came from turning the pages in a directory, and it was a value investment. I used the same decision process as I would if I were investing in the U.S. I get a big book from Citigroup (it's free), and I just turn through the pages. I'm looking for pure value ideas with low ratios and strong balance sheets. I picked out about 20 of them, and the average earnings multiple was 3, and they all had been cleaning up their balance sheets. When you do that there's almost no chance that you don't make money from them. Well, unless war breaks out or there's a major disaster, but you run that risk investing anywhere. Investing is about all about value. You're laying out a dollar today and trying to get more for that tomorrow. This doesn't work if you buy a company making hula hoops or pet rocks, but it does if you're buying a company that makes flour. People aren't going to stop eating flour tomorrow.

CM: And it didn't bother you that South Korea relies so much on exports?

WB: No. If I get 20 companies like these, there is no way you won't make money. I also got an extra kick from the currency.

CM: But there are not always opportunities like that. Korea was suffering from a lot of problems, and people got so pessimistic that they pushed stocks down to levels similar to the U.S. in the 1930s. That's not always going to happen.

WB: There is always a bunch of bad news out there. What other kind of investing is there out there besides value investing? Tip investing, where we go off of rumors? Or no-value investing? Or maybe dream investing. I've just never understood what the alternative is.

Q: There is just so much liquidity out there today. Some say that we're in a golden era with low inflation, low interest rates, and low volatility. At the same time, the difference in wealth between the wealthy and everyone else is the widest it's ever been. Do you expect this environment of liquidity to continue? And why isn't it being spread around more?

WB: The super-rich versus the rest of the country is dramatically changed in the last 15 years. A large part of that is the tax code. The U.S. government has said, if you earn money through a hedge fund or how I do at Berkshire -- work that doesn't cause you to break a sweat -- you pay lower taxes. If I make all of my money through dividends and capital gains I pay a comparatively low tax rate. This has become the favorite class -- apparently Washington believes that the super-rich are endangered as a class.

On liquidity, there's nothing but money running around. Money, money everywhere, but not a drop to drink. It's extraordinary, but situations like this always end the same way. It looked similar back in '69 when I closed my partnership. It has affected a lot of people, and everyone has gotten complacent. The problem with a complacent world is that people end up taking more risk. We can easily have an event that changes everyone's perspective in a hurry. And we will have such an event.

CM: We always have periods of excitement followed by periods of just the opposite. Those in Miami with stretched loans don't feel like there's money everywhere. And we're going to have more occasions like Miami condos. Right now everything is working wonderfully, and the big pension funds and endowments think that if they hire enough advisors they can make 15% for annum, but there is a force out there guaranteeing that they can't do it.

WB: If GDP grows at 5% per year, they can't continue to make 15%. People seem to understand that the entry price on a bond dictates the return, but they don't seem to understand that with stocks.

CM: And they all suspect that the more you pay the advisors, the better the returns will be.

Q: The real estate market has been rapidly cooling lately. Would you consider a purchase in the real estate market if the slowdown continues for another year or two?

WB: We've made deals from time to time in real estate. It's a big market, and if things get too out of whack we could step in.

CM: We didn't do it last time it happened. We've done better in other fields -- we're typically better at buying businesses.

WB: It's really a labor-intensive business, and we're not labor-intensive guys.

Q: Comparing 2007 to 2006, what is your exposure to hurricanes? Do you have any suggestions for public policy in this area?

WB: In 2007 vs. 2006, our exposure is about half, but not across the board. To the extent that prices went down, we have not scaled back equally. We wouldn't mind having more exposure than last year if we thought that prices were appropriate. If there are huge hurricane losses this year and prices are greater next year, we'll take more exposure. We are actually willing to risk a lot of money and expose ourselves to a lot of losses, but we have to be adequately compensated for it.

As for Washington, there should be some level where they are the insurer of last resort, because they are anyway. For banks, the FDIC was set up to provide last resort protection. Why not do the same thing for super catastrophes as the FDIC does for banks?

CM: But the government isn't saving the insurance companies.

WB: No, the insurance companies go broke. You don't save the insurance companies, you save the insured.

Q: What Canadian companies do you admire the most?

WB: You're really insistent on this one! It's not that I don't admire Canadian companies; it's the market cap thing. We don't really look at anything with a market cap less than $20 billion. Other than that I don't have any problem with Canadian companies, I bought my first Canadian stock at 14. We have taken a look at the Canadian banks -- overall, it's a pretty easy country to understand.

CM: There will be immense fortunes made in Canada if oil goes to $200.

WB: The companies involved in the dark sands would do well, but that is a very leveraged play on oil.

Q: There are a number of subsidiaries of Berkshire that have been ranked very low by firms that rank companies on their social impact. Do you have any plans to urge the Berkshire subsidiaries to do better in this respect?

WB: I have no idea how you would go about ranking the S&P 500 companies on a scale like that. I don't know how to rank a company that makes cigarettes vs. one that markets cigarettes or how to compare Chevron to Exxon to BP. If we have a company at Berkshire that's doing something that I don't think we should be doing, I'll talk to the manager. But if people are mad, for example, because Coke makes people fat -- well, I drink Coke and I'm a little fat -- I don't have a problem with it. I don't even know how you would rank something like that.

CM: In a lot of cases, I don't think the people doing philanthropy know whether what they are doing is doing more harm than good.

WB: Take education. It's a very important topic, but there are no easy answers. Or the U.S. as a whole over the last 50 years, what rank would you give there? It's hard to give a grade. It's likewise hard to grade Exxon -- the company has done well in part because of its very low finding costs, which is a great benefit to the world.

CM: If you ask me who has done more good for the world, the Ford Foundation or Exxon, I'd say Exxon.

เบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์พบผู้สื่อข่าว ตอนที่ 1

หลังงานประชุมใหญ่ประจำปีเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาแล้วเสร็จลง ท่านวอร์เร็น บัฟเฟตต์ และ ท่านชาร์ลี มังเกอร์ ได้เปิดเวทีพบปะผู้สื่อข่าวจากสำนักพิมพ์ต่างๆทั่วโลกซึ่งก็ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจ เพื่อให้ทั้งสองท่านตอบ ซึ่งทั้งสองท่านได้แสดงมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการลงทุนต่างๆทั้งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และจะเกิดขึ้นในอนาคตไว้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะในเรื่องของการซื้อกิจการรถไฟเร็วๆนี้ ทั้งสองท่านยอมรับว่าตนเองโง่ไปตั้งนาน 3-4 ปีกว่าจะเห็นมูลค่าของกิจการดังกล่าว ทั้งนี้ท่านทั้งสองยอมรับว่าเป็นเพราะทัศนะคติต่ออุตสาหกรรมกิจการรถไฟมาแต่ดั้งเดิมแบบมีความลำเอียงมาตลอด

ต่อไปนี้เป็นบันทึกการให้ข้อมูลผู้สื่อข่าวโดย Jim Gillies (TMFCanuck), Alex Dumortier(TMFMarathonMan), and Matt Koppenheffer (TMFKopp) ทั้งนี้โดย Phil Durrell ผู้เป็น TMFAdmiral ที่ the Fool เป็นผู้โพสต์บันทึกนี้จากเวทีพบปะผู้สื่อข่าว(ไม่ได้เป็นบันทึกแบบคำต่อคำ)


One thing that I noted was the that the number of foreign attendees was a lot higher this year perhaps as a result of the Iscar purchase. Total persons at the press conference up at least 50% (my guess)

Notes from the May 6 2007 Press Conference (not verbatim)
By Jim Gillies (TMFCanuck), Alex Dumortier (TMFMarathonMan), and Matt Koppenheffer (TMFKopp)

Q: Thirty years ago, you told investors to put their money into municipal bonds; now you recommend index funds. If people had done the former 30 years ago, they would have left a lot of money on the table.

Warren Buffett: That [original recommendation] was with a 10-year time horizon, and I gave the estimated after-tax return. I can provide you with a copy of that letter. I recommended that my partners put their money with Bill Ruane, and that has worked out very satisfactorily.

For a know-nothing investor, a low-cost index fund will beat professionally managed money. I have a standing offer to anyone who can name five hedge funds or fund-of-funds that will outperform a low-cost index fund. This eliminates survivorship bias -- no one has taken me up on my offer. The gross performance may be the same, but the fees will eat into that compared to a good index fund, which is almost cost-free.

It goes counter to the interests of almost everyone in the business to promote something with very low fees.

If you look at the performance of Fidelity Magellan -- I don't mean to pick on that fund; Peter Lynch did a terrific job there -- but a lot of that performance came from the early years.

Q: You mentioned your ownership interest in Posco (NYSE: PKX) yesterday. Apart from Posco, what other stocks are you buying in Korea?

WB: We talked about Posco because it met our threshold, which was $700 million this year. Otherwise, we don't disclose our purchases -- it's counter to our interests and to those of people who would listen to us. If you run out to buy a stock simply because you found out that somebody else owns it, that probably isn't a very good idea.

Charlie Munger: Korea is an unbelievable example -- it has come a very long way and it started from real hardship. Korea has no material resources, lousy agriculture, they have been invaded by their neighbors at various times, and they've had a longstanding war that has divided them. It's one of the most heartening stories in the history of the world.

I live in a city that has the largest population of Koreans living outside of Korea -- L.A. has 800,000 Koreans. I really like the Koreans, and they have reason to be very proud of themselves.

WB: Isn't the reason you like them because we made a lot of money there [in Korea]? (Laughter.)

Q: On your succession strategy and the qualities of a CIO.

WB: When Lou Simpson came to GEICO, we paid him a minimal salary, and we paid him [a bonus] based on the percentage of outperformance with respect to the S&P 500 on a rolling three-year basis. We didn't assign him a block of money -- he was able to choose the size of the block of money he was managing. Because of the explosion of money being managed by hedge funds in the last few years, Lou Simpson could have been very much more than he is now. He never came to us and said, "I'm being paid '0-and-10' instead of '2-and-20'" [referring to the standard hedge fund fee arrangement in which the manager receives 2% of assets and 20% of investment gains]. That conversation simply never took place.

We could take on as many as three people initially. If I find three what-look-like-Bill Ruanes, I would probably pay them a pretty small salary -- less than they were making previously -- and a percentage of their returns above the index, but that would probably be on a rolling five-year average. I would give them some $2 [billion to] $3 billion initially, and I'll be looking at three things:

One, although there is nothing wrong with managing these sums, I'll also be looking to see who has the potential to scale up to $100 billion. I will also be looking to see who can "get off the tracks" and look around the corner [anticipate the existence of risks that are known to all]. Finally, I'll be looking at whether the person can invest outside of equities. We have made a lot of money in junk bonds, currencies.

CM: In municipal bonds, too!

Q: You mentioned that you might be considering selling some of Berkshire's holdings to make a big acquisition. Can you comment on that?

WB: We aren't currently contemplating it, but we are always ready to do so. We would put a lot of our cash to work first, but we would be ready to sell some marketable securities if it were necessary to fund the purchase. I have sold stocks [trading] at two times earnings to buy something cheaper -- that was a long time ago, and it's not likely to happen again.

Q: What are the fundamental qualities of your successor?

WB: There are two successor questions. On the CEO front, we had already designated three candidates, and all three of them, in many respects, would do a better job at it than I am (but they don't have 30% of the stock, so they'll just have to wait). Those three people are already known to the board. My successor is steeped in the Berkshire tradition and is tremendously able in terms of both operations and capital allocation.

Intelligence isn't everything. The average IQ in that building in Greenwich, Conn. [the offices of Long-Term Capital Management], was probably over 155, wouldn't you say Charlie?

CM: Yes.

WB: But that isn't enough. The guys at Long-Term Capital Management were extremely intelligent, but they just didn't contemplate what could happen -- they thought the future would look like the past.

You shouldn't operate in the financial markets without being aware of the Great North Corner. I hope you are aware that 25 x 23 x 17 x 20 x ... x 0 = 0; you had better be very aware that about what can introduce a zero in that series [Buffett is referring to the possibility that an investment manager can be wiped out in a single year - erasing all previous gains.] Leverage definitely increases the risk or producing a zero.

Q: [From a South African correspondent] If you could elaborate on investing outside the U.S. What percentage of your assets would you be comfortable holding outside of the U.S.? Any comments on Africa, particularly since much of the work of the Gates foundation is focused on Africa.

WB: I must have told 30 South Africans to call me collect if they know of some business that we might be interested in buying and, in fact, I expect several of them to call. One of them may even already have something of interest. The problem is scale -- we have a market capitalization of approximately $160 billion -- a business that generates $10 million in owner earnings a year and is worth $100 million -- so what? That will hardly move the needle for Berkshire.

CM: If the whole country is a kleptocracy, that make it hard to be a rational investor.

WB: That isn't the case of South Africa, though.

CM: No.

Q: [From Grant's Interest Rate Observer] Why don't you follow your own advice and invest in index funds?

WB: I'm happy to hear that, since we suggested that index funds were appropriate for know-nothing investors. (Laughter.) I don't think we fall into that category -- I would be amazed if we couldn't beat the S&P 500 by a couple of percentage points. We won't do 5 points higher, but we can do a couple of points.

CM: We don't have an iron rule that we have to be invested in common stocks. We think that the combination of things we can do still has reasonably attractive prospects. Nevertheless, it isn't easy.

WB: To transfer our investments to an index fund, we would have $14 billion in taxes, so the performance of the index fund would have to compensate us for that interest-free loan we receive from the government. [Buffett is assimilating the deferral of long-term capital gains taxes to an interest-free loan from the government.]

Q: What are the long-term values you see in the newspaper industry, as opposed to a consolidation play?

WB: The long-term owner will face long-term problems. You will see the drift of ownership of papers toward people who like baseball clubs or sacred trusts. If you want to spend $1 billion on something that has value beyond its economic value, you could buy the New York Yankees, and you would immediately become important. If you buy the New York Times, you become even more important. People will do things and spend money to become important -- it's part of human nature.

CM: We are starting to see a transition like that. There is the case of a woman who got divorced in San Diego, and she went ahead and bought the local newspaper. Some of the integrity that existed in the newspaper business came from their monopoly status -- they had nothing to fear from anybody. If you know that your earnings are going to go up next year by a certain percentage, you don't need to be respectful of anybody.

WB: The worse the economics of the business, the greater the temptation to be less than they should be.

CM: I'll never forget that guy who was the head of the FAA. The Wall Street Journal ran a series of articles on him in which they described his corruption. Do you remember?

WB: Sure.

CM: As soon as the first article was published, that guy was a dead man walking.

Q: [from Business Today Weekly in Taiwan] What is your interest in Taiwanese high-tech companies? Also, have heard rumors that you're buying shares in a Chinese steel company.

WB: We won't be commenting on our buying or selling. As for high-tech companies, change is often wonderful, but perhaps not for investments. We're in the business of seeing the future. In effect, what will the next 25 years look like? If it's too tough to figure out, don't even try.

During the Internet boom, I gave an exam to a class, with but a single question. That is, describe an Internet company, and then tell me what it's worth. Anyone who gave an answer flunked. That's the problem in high tech -- a few will profit, but a lot will have problems, and it's hard to see who does what in advance. We know that Snickers bars will still be sold and do well in 10 years. That doesn't make candy a better business; it's just that we know who the winner is.

In 1903, the auto industry (high-tech of the day) in the U.S. had 2,000 companies. The auto industry effected massive change on people's lives -- now, you've got three companies left, two hanging on by their fingernails, and one up for sale. It's the same story with the airlines. Revolutionized life on earth, yet net, they've lost money. Any self-respecting capitalist would have shot Orville down at Kitty Hawk, and we'd all be better off.

Today, you've got two companies in the world making big commercial airliners [Boeing (NYSE: BA) and EADS], and one of them isn't doing too hot. It's much easier to look at consumer habits, and at companies with big barriers to entry. Gillette was easy -- they had 70% market share, selling to men. Men are easy; women are far more complicated. Men don't like change. So Gillette became the friend of every boy through Cavalcade of Sports [Gillette was a major advertiser], and Gillette kept them into adulthood.

CM: Is it hard to predict that Texas brickyards will be producing the vast majority of the bricks in Texas sold in 20 years? It's obvious. Yet this logic is scorned by MBAs from Wharton.

WB: In 1890, there were about 10 billion bricks produced per year in the U.S. Today, it's about the same amount. We produce about 1 billion of them. In 10-15 years, there will still be 10 billion bricks produced, and maybe we'll be making 2 billion of them -- we'll sneak up on the industry. A great business.

CM: It's a different mindset.

WB: See's Candies -- we bought for about $20 million, it's given us about $1.5 billion pre-tax since we bought it.

CM: It's interesting that the business that didn't shun the brickyards is the one that has the AAA credit rating. You think they'd wise up.

Q: [from Journal de Montreal] Who are your preferred Canadian CEOs?

WB: The CEO of Canadian National Railway (NYSE: CNI) has done the best job of anyone in the railroad industry. [It's not clear whether Buffett is referring to the current CEO, E. Hunter Harrison, or the former CEO who stepped down in 2003, Paul Tellier. I can tell you, as a Canadian, that Tellier has a much higher profile in Canada and is largely considered to be responsible for CN's ascendance. Harrison has been much lower key. -- JG.] Bill Gates was way ahead of us on that one [buying CN], and he's made a lot of money.

CM: It's good the money went to someone who needed it. (Laughter.)

Q: [from the New York Times] Will the new CIOs need to become citizens of Omaha?

WB: Not necessarily. Lou Simpson started in Washington, D.C. After five years, he decided he wanted to be in Santa Fe [N.M.]. More recently, he transitioned to Chicago. It's really not important. What is important, is to go where you can think best. The information is all available everywhere. It's just a question of where you think best.

Say we take on two or three people. Perhaps one might want to live in Omaha [Neb.], fine. If a person has a five-minute commute, versus a one-hour commute, we want them where they think best, and to minimize the frictional costs of life.

Q: [from Jim Gillies of The Motley Fool] You recently took a large stake in railroads, particularly Burlington Northern Santa Fe (NYSE: BNI). You talked a little at the meeting yesterday about how much better the business is today than it was 25-30 years ago. But I look at the price two years ago that was roughly half of what it is today, I know that you [Berkshire] had the cash two years ago, and so I ask, what has changed in those two years?

WB: I missed it. It shows how dumb we were two years ago. Burlington wasn't any different two years ago. I do that time and again. I had a bias against railroads, since they were such a terrible business for decades. I had to get rid of my industry bias.

CM: They were a terrible investment for a long time, and it's tough to break a prejudice.

WB: The past price history means nothing. I prefer not to know the stock price when I'm evaluating an investment. I handicapped horses the same way, I didn't want to know the odds before I had come up with what I thought the probabilities were.

CM: We thought about railroads for a long time and developed a bias. Everybody has this trouble. How could we be so stupid? There's an old German saying, "You are too soon old, and too long stupid." It goes to show you that you can have a lot of stupidity and still end up with pretty good results. But stupidity is inevitable. It happens to everyone.

WB: Some ideas take refuge in your head, though they may be false, such as "stocks are better or bonds are better." It all depends on which stocks and which bonds you're talking about. I should have been thinking about Burlington four years ago. I simply wasn't thinking about them [the railroads] -- there's no excuse.

Q: [from Seoul, South Korea] Do you plan to increase your Asian currency holdings? How do you think of emerging markets?

WB: Generally, emerging markets (and the related currencies) are too small for us; we need to make sizable investments. We believe that long-term, Asian currencies will appreciate versus the U.S. dollar, but who knows when? And with a lot of these currencies, the carrying costs are usually negative. You may have a cost of carry of 4%, grinding on you per year. We do, however, like buying businesses making money in other currencies.

We don't shy away from companies making money in Asian currency. And it's a plus if earnings are in currency other than the U.S. dollar.

Q: [from Financial Times] You talked about drift in the reasons that people seek to own newspapers. Is paying a high premium motivated by non-economic reasons?

WB: Do you think Rupert Murdoch has dome interest in The Wall Street Journal that is not economic? Everyone would pay a little more for Dow Jones and The Wall Street Journal than for a steel mill throwing off the exact same cash flows. Or for a brickyard making the same cash flows.

There are certain assets -- sports teams, newspapers, movie studios -- that have a "psychic income" -- power, ego, influence -- and that's something that people will pay for. So, you can calculate the theoretical value of an asset -- that being the discounted sum of the cash flows it will produce forever, but then there's the "B" value on top of the discounted cash flows -- that the "B" value of owning Dow Jones is huge. There are all kinds of people interested in The Wall Street Journal ... they just don't all have checks that would clear.

Q: [from a French paper] Have you considered investing in France? Your opinion of the business environment?

WB: It's a matter of record, we own a little stock in Sanofi-Aventis (NYSE: SNY). We're totally open to a good-sized business in countries like France, Germany, the U.K., etc.

Q: [from Chosun] China is getting bigger, much faster, and becoming one of the dominant powers, even in financial markets. We saw what happened with the Shanghai market earlier this year. How you do size up the Chinese economy, and how do you account for risk?

WB: We're going to open a large Iscar plant in China in October. Coke (NYSE: KO) -- China is the fourth-largest market for them. Fruit of the Loom, we buy from China. We buy a lot of furniture from China -- they're a huge supplier for us.

I look back at 1790 - there were less than 4 million people in the U.S. and 290 million in China. What happened? The U.S. today has 25% of the world's GDP, not because we were smarter or more fortunate, but because our production of goods was better. China has caught on fast with respect to their untapped potential. They haven't ignored the rest of the world the way they did. They're starting to use that untapped resource.

There's no reason that those people in China couldn't have done as well as we did in the U.S., but the system didn't allow it.

CM: They had a system that decreased the potential of their own people. They also had so many people for that time that they were butting up against the carrying capacity of their environment. They didn't have a wide-open continent like we did in North America [the Native American population would have argued this point. -- JG] But that's over.

WB: We like businesses that will travel well. Iscar -- now in over 60 countries. See's Candies doesn't travel well -- it does well in its native environment, California. Coke travels extremely well. Dr. Pepper has huge market share in its home area (Texas) but has insignificant share in, say, Boston. It's interesting to see what does travel, and what does not. It's really interesting to consider what will travel to China. And we like earnings in currency that we think will appreciate.

Q: You've said that pharmaceutical stocks are in the "too hard" pile. So why are you now in Johnson & Johnson (NYSE: JNJ)?

WB: Well, Johnson & Johnson is more than pharma. We understand Johnson & Johnson. We don't understand who's going to come up with a blockbuster drug next.

CM: They don't, either. (Laughter.)

WB: You could have a situation where we'd buy a basket of pharma stocks.

CM: We've done something like that in the past with respect to banks and newspapers.

Q: You like to drink Coke. You look so strong and healthy. How long are you planning on working at Berkshire?

WB: I like lots of calories. I've never smoked. Never drank. I have a no-stress job. (Laughter.) I'm surrounded by people I love. What could be better? If everything is favoring you, what can be bad.

CM: He's also related to people who lived a long time.

WB: I did eventually buy my mother an exercise bike when she was 80. I figured, the longer she lived, the better it portended for me. (Laughter.)

วันเสาร์, พฤษภาคม ๑๒, ๒๕๕๐

มังเกอร์พูดถึงความสำเร็จของเบิร์กชัวร์

โดย ตวน ทราน

"ผมไม่ได้มีความพยายามหรือตั้งใจว่าชีวิตนี้จะมาเป็นผู้ช่วยของผู้นำกลุ่มคลั่งลัทธิความเชื่อทางปัญญาแต่อย่างใดเลย"

นั่นเป็นคำพูดของ ชาร์ลี มังเกอร์ กล่าวต้อนรับผู้ถือหุ้นในงานประชุมประจำปีของบริษัทเวสโก้ แน่นอนที่กลุ่มคลั่งลัทธิความเชื่อทางปัญญาคือ กลุ่มนักลงทุนแบบเน้นมูลค่าผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาและเดินทางเข้าไปเบียดเสียดยัดเยียดกันที่ โอมาฮา, เนบราสก้า และพาซาดีน่า,แคลิฟอร์เนีย ในฤดูใบไม้ผลิตของทุกปีเพื่อเข้าศึกษาหาความรู้ตรง ณ แทบเท้าของวอร์เร็น บัฟเฟตต์และชาร์ลี มังเกอร์ และอย่างที่มังเกอร์บอกว่า "เพื่อว่าเมื่อกลับบ้านจะได้มีความเฉลี่ยวฉลาดเพิ่มมากกว่าตอนที่มา"

การประชุมปีนี้จัดขึ้นภายในบริเวณเต้นท์ขนาดใหญ่มโหฬารในศูนย์ประชุมเมืองพาซาเดน่า มังเกอร์เรียกเต้นท์ที่ถูกออกแบบด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมที่น่าประทับใจนี้ว่า " ของขวัญแด่ความศิวิไลซ์"

เนื้อหาการพูดของมังเกอร์ในปีนี้มุ่งประเด็นไปที่เหตุผลต่างๆที่ทำให้บัฟเฟตต์และ เบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์ประสบความสำเร็จแบบชนิดโดดเด่นสุดยอดอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ มังเกอร์สาธยายถึงปัจจัยต่างๆที่มาประจบพร้อมเพรียงกันส่งให้เกิดผลสำเร็จด้านการลงทุนและธุรกิจแบบชนิดเป็นที่ฮือฮาในประวัติศาสตร์ของเศรษฐระบบกิจทุนนิยม ปัจจัยต่างๆดังกล่าวประกอบด้วย

ความเฉลี่ยวฉลาดด้านอารมณ์และจิตใจ (Mental Aptitude) อย่างที่ทราบกัน วอร์เร็น บัฟเฟตต์ เป็นบุคคลที่มีความเฉลี่ยวฉลาดมากๆ แต่มังเกอร์ บอกว่า เขาน่าจะประสบความสำเร็จมากเกินไปเทียบกับความสามารถทางจิตใจและอารมณ์ที่มีมาแต่กำเนิด ตัวอย่างเช่น ด้วยการปิดตาเล่นเชสส์บัฟเฟตต์ไม่สามารถเอาชนะคนที่มาร่วมเล่นเช็สส์ด้วยกันทั้งหมดทุกๆคนอย่างเช่นแชมป์เชสส์แห่งอเมริกาชื่อ แพทริค วูล์ฟฟ์ ( วูล์ฟฟ์ เอาชนะคู่แข่งทุกคนขณะเวลาเดียวกันด้วยกันเล่นแบบปิดตาที่งานประชุมประจำปีของเบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์) ด้วยอารมณ์ขันแบบฝืดๆอย่างอ้อมแอ้มไม่เต็มปากเต็มคำมังเกอร์เรียกความชำนาญของวูล์ฟฟ์ เพียงแค่ว่า "น่าสนใจดี"

ความสนใจอย่างยิ่งยวด (Intense Interest) มังเกอร์ให้ข้อสังเกตุไว้ว่า บัฟเฟตต์ให้ความใส่ใจด้วยความสนใจอย่างยิ่งยวดในธุรกิจและลงทุนมาตั้งแต่อายุยังน้อยมากๆ "ไม่มีอะไรมาทดแทนความใส่ใจด้วยความสนใจอย่างยิ่งยวดมากๆได้"

เริ่มต้นแต่อายุน้อยๆ(Early Start) อีกปัจจัยที่นำมาซึ่งความสำเร็จของเบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์ ก็คือ บัฟเฟตต์เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยและสามารถใช้ความชำนิชำนาญของเขามาทำให้เงินทุนเกิดการงอกเงยแบบทบต้นตลอดช่วงหลายๆทศวรรษที่ผ่านมา

การศึกษาเรียนรู้แบบไม่หยุดยั้ง (Constant Learning) มังเกอร์กล่าวว่า บัฟเฟตต์ เปรียบเสมือน"เครื่องที่ทำหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน"ที่ดีที่สุด ปัจจัยหลักที่นำมาซึ่งความสำเร็จก็คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชั่วชีวิตของคุณด้วยความอยากชนิดมูมมาม ต่อมามังเกอร์ได้วกกลับมาพูดถึงหัวข้อนี้อีกโดยบอกว่าวิธีการให้ได้มาซึ่งปัญญาภูมิทำได้โดย"นั่งลงเอาหลังคุณพิงเก้าอี้และอ่านตลอดทั้งวัน"

มุ่งสมาธิอย่างจดจ่อ (Concentration) อีกปัจจัยที่นำมาซึ่งความสำเร็จของเบิร์กชัวร์ ก็คือ การทุ่มเททางจิตใจอย่างหนักโดยจดจ่อสมาธิต่องานด้วยตัวบัฟเฟตต์เอง "เป็นเรื่องยากที่จะนึกถึงคณะกรรมการต่างๆที่ได้เคยประสบความสำเร็จ" มังเกอร์เปรียบเฉกเช่นกลยุทธของจอห์น วู๊ดเด็นที่ใช้วิธีหมุนเวียนผู้เล่นในทีม โค้ชผู้ยิ่งใหญ่ของ ยูซีแอลเอ จะใช้ผู้เล่นแค่ 7 คน จากทั้งหมด 12 คนเล่น ทั้งนี้เพื่อจะได้สามารถมุ่งเน้นถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้เล่นที่เก่งที่สุด 7 คนเหล่านั้น ในทำนองเดียวกันงานส่วนใหญ่ของเบิร์กชัวร์จะได้รับการเอาใจใส่ด้วยสมาธิที่จดจ่อจากผู้ที่มีจิตใจดีที่สุดในองค์กร นั่นก็คือ จิตใจของบัฟเฟตต์


โน็ตสำหรับการดำรงค์ชีพอย่างเป็นสุข

มังเกอร์ ได้ให้ข้อแนะนำสำหรับการมีชีวิตอย่างเป็นสุขด้วยอารมณ์ขันและแจ่มแจ้ง ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งหัวใจของภูมิปัญญาที่ว่า

- มังเกอร์ กล่าวว่า ผู้คนที่เฉลี่ยวฉลาดจำนวนมากปิดกั้นตัวเองด้วยความไม่เข้าท่า ตัวอย่างอันหนึ่ง คือ การเป็นคนประเภทมีอุดมคติสุดๆ เท่ากับว่า"เป็นการนำเอาสมองของคุณออกมาแล้วเริ่มลงมือใช้ฆ้อนทุบมัน"

- มุ่งเน้นไว้ในชีวิตว่า "ต้องทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้บรรลุถึงจุดสูงสุด"

- "คุณต้องเรียนรู้ที่จะเสาะแสวงหาวิธีการเรียนรู้"

- "เป็นเรื่องไร้สาระอย่างสิ้นเชิงที่จะมัวแต่คิดว่าโลกนี้ไม่ได้ให้ความยุติธรรมกับคุณเลย เรื่องยากที่เกินความสามารถที่มีอยู่เดิมทุกๆเรื่อง นั่นแหละคือโอกาส"

- "การมีเหตุมีผลเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจะทำให้คุณสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่เคยได้โดยไม่ถูกทำโทษ"

- "ผมจะไม่บ่นเรื่องของอายุผมเพราะถ้าไม่มีอายุมาเกี่ยวข้อง ก็เท่ากับว่าผมก้อตายแค่นั้นเอง"

บทส่งท้าย

มีผู้ตั้งคำถามคนหนึ่งถามเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อแบบชนิดยึดติดอย่างมากที่มังเกอร์ได้สลัดทิ้งออกไปเมื่อเร็วๆนี้ ภายหลังครุ่นคิดอยู่พักใหญ่ มังเกอร์กล่าวตอบแสดงความเห็นว่า การที่เบิร์กชัวร์เข้าซื้อหุ้นกิจการรถไฟเมื่อไม่นานมานี้เป็นการบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแนวคิดต่ออุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างชนิดที่หมุนกลับมุม 180 องศา ตามที่มังเกอร์พูดปัจจุบันการรถไฟมีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างมหาศาลเหนือกว่ารถบรรทุก อย่างเช่น การจัดทำรถขนสินค้าแบบ 2 ชั้น และการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบการเดินรถ มังเกอร์บอกว่าเขาและบัฟเฟตต์เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆนี้ช้าเกินไปและน่าที่จะทำเงินได้มากกว่านี้ อย่างที่เห็นๆ บิล เกตส์เข้าใจเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อนและได้ทำเงินในอัตราหลายเท่าจากกิจการรถไฟ

มังเกอร์แนะนำหนังสือ 2 เล่ม ได้แก่ The Martains of Science: Five Physicists Who Changed the Twentieth Century by Istvan Hagittai and Einstein: His Life and Unverse by Walter Isaacson. มังเกอร์บอกว่าเขาได้เคยอ่านหนังสือประวัติของไอน์สไตน์ทุกเล่ม และเล่มใหม่ล่าสุดดังกล่าวที่แต่งโดย Isaacson เป็นเล่มดีที่สุด

ตลาดแบบไร้ประสิทธิภาพมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่ง เป็นไปแบบไม่ชัดเจนแทบสังเกตุไม่เห็น และอีกชนิดเกิดจากการกระทำของคนโง่ อย่างหลังนี้เกิดขึ้นอยู่เรื่อยเป็นพักๆ

ตวน แทรน มีหุ้นที่พูดไว้ข้างต้นจำนวนหนึ่ง: BRK.B