วันเสาร์, มีนาคม ๑๐, ๒๕๕๐

ฟิลิป อาร์เธอร์ ฟิชเชอร์ กับ 15 กฏเกณฑ์ที่ใช้เลือกหุ้น

ฟิลิป อาร์เธอร์ ฟิชเชอร์( 8 กันยายน 1907 - 11 มีนาคม 2004) เป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดจากหนังสือที่เขาแต่งชื่อ คอมมอนด์ สต๊อกส์ แอนด์ อันคอมมอนด์ โปรฟิตส์ (ISBN 0-47111-927 - X) ซึ่งเป็นคู่มือการลงทุนที่ยังคงพิมพ์ออกจำหน่ายเรื่อยมานับตั้งแต่ปี 1958 จวบจนปัจจุบัน


การลงทุนที่สร้างชื่อเสียงแก่ฟิชเชอร์มากที่สุด คือ การลงทุนซื้อหุ้นบริษัทมอโตรอล่า ซื่งเป็นบริษัทผลิตวิทยุที่เขาซื้อเมื่อปี 1955 และถือไว้ตราบจนกระทั่งตัวเองถึงแก่กรรมในเดือน มีนาคม 2004 รวมอายุขัย 96 ปี


ผู้ที่เป็นสาวกทำตามแบบอย่างของฟิชเชอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ วอร์เร็น บัฟเฟตต์

การประเมินการลงทุน

ฟิชเชอร์ ได้แนะนำวิธีประเมินบริษัทที่จะลงทุนโดยตั้งคำถามไว้ 15 ข้อ - คำถามเหล่านี้ตั้งขึ้นมาใช้สำหรับซักไซ้ไล่เรียงหาคำตอบจาก ผู้ส่งป้อนสินค้าต่างๆ, คู่แข่งทั้งหลาย และเหล่าผู้บริโภค:

1. บริษัทมีสินค้าหรือบริการที่มีศักยภาพในตลาดเพียงพอซึ่งเป็นไปได้ว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายไปได้อย่างน้อยอีกหลายๆปีหรือไม่

2. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นที่จะยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือขบวนการผลิตใหม่ขึ้นมาทดแทนสายของผลิตภัณฑ์เดิมที่เป็นที่ต้องการตลาดเดิมขณะนี้แต่ส่วนใหญ่ถูกช่วงชิงเอาศักยภาพการเติบโตดังกล่าวไป ทั้งนี้เพื่อว่าผลิตภัณฑ์ใหม่จะได้เป็นตัวเพิ่มศักยภาพการขายโดยรวมของบริษัทให้เติบโตต่อไปหรือไม่

3. เมื่อเทียบกับขนาดของบริษัทแล้วฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความทุ่มเทเอาจริงเอาจังอย่างมีประสิทธิผลหรือไม่

4. องค์กรฝ่ายขายของบริษัทมีความสามารถสูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปหรือไม่

5. บริษัทสามารถทำกำไรในอัตราส่วนที่ดีพอหรือไม่

6. บริษัทได้กำลังทำอะไรเพื่อรักษาคงอัตรากำไรไว้หรือปรับปรุงเพื่อทำให้อัตรากำไรสูงขึ้นกว่าเดิมอยู่หรือไม่

7. บริษัทมีการสร้างความสัมพันธ์กับแรงงานและบุคคลากรได้ยอดเยี่ยมหรือไม่

8. บริษัทมีการสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริหารได้ยอดเยี่ยมหรือไม่

9. บริษัทมีจำนวนบุคคลากรที่มีปัญญา เฉลี่ยวฉลาดและรู้จริงร่วมงานกับผู้บริหารหรือไม่

10. บริษัทมีการวิเคราะห์ต้นทุนและควบคุมระบบบัญชีได้ดีเพียงใด

11. เมื่อพิจารณาเทียบเคียงกับคู่แข่งในวงการอุตสาหกรรมเดียวกัน บริษัทมีสิ่งบ่งบอกอย่างอื่นทางธุรกิจที่แตกต่างออกไปที่พอจะทำให้ผู้ลงทุนใช้เป็นตัวชี้นำสำคัญๆที่จะบ่งชี้ได้ว่าบริษัทมีความโดดเด่นเหนือกว่าอย่างไรหรือไม่

12. เมื่อพิจารณาในเรื่องของการทำกำไร บริษัทมีการมองภาพการทำกำไรแบบช่วงสั้นๆ หรือ แบบช่วงยาวๆ

13. ในอนาคตอีกไม่นานบริษัทจำเป็นต้องเพิ่มทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นเพื่อนำไปขยายกิจการสร้างการเติบโตกับบริษัท ซึ่งที่สุดแล้วการเพิ่มทุนดังกล่าวเพื่อแลกกับการเติบโตที่คาดหวังไว้จะเป็นตัวการทำให้ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่เคยได้รับหมดไปหรือไม่

14. เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างราบรื่นผู้บริหารพูดคุยกับนักลงทุนอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่บริษัทกระทำลงไปแต่ในทางตรงกันข้ามกลับปิดบังอำพรางเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นและผลประกอบการไม่เป็นไปตามที่หวัง หรือไม่

15. ผู้บริหารของบริษัทมีความซื่อสัตย์สุจริตอย่างไม่มีที่ติ หรือไม่

ที่มา http://www.answers.com/topic/philip-arthur-fisher

วันอังคาร, มีนาคม ๐๖, ๒๕๕๐

สิ่งสำคัญที่นักลงทุนทั้งหลายไม่พึงกระทำ

ในการลงทุนนั้น การหยุดการสั่งซื้อมีความสำคัญพอๆกับการสั่งซื้อ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ ในเรื่องที่คุณไม่พึงกระทำ


1.อย่าเน้นในเรื่องการกระจายความเสี่ยงมากจนเกินเหตุ


ที่ปรึกษาการลงทุนหลายๆคนและสื่อสารด้านการลงทุนได้อธิบายความถึงข้อดีของการกระจายตวามเสี่ยงโดยยกเอาประโยคที่น่าสนใจจดจำง่ายนี้ขึ้นมาพูดอยู่เสมอๆ " อย่าใส่ไข่หลายๆฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบเดียว" อย่างไรก็ตาม ฟิชเชอร์ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านใส่ไข่หลายฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบโน้นบ้างใบนี้บ้าง ก็ไม่แน่เสมอไปว่าไข่ทั้งหมดทุกฟองจะอยู่ในที่ปลอดภัยดี อีกทั้งยังยากต่อการเฝ้าติดตามดูไข่ทุกฟองนั้น

ฟิชเชอร์,เป็นผู้ซึ่งถือหุ้นไม่เกิน 30 ตัวเป็นอย่างมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของอาชีพ,มีคำตอบที่ดีกว่าดังนี้คือ ให้เสียสละเวลาค้นคว้าและทำความเข้าใจบริษัทหนึ่งๆอย่างถ้วนถี่และถ้าหากเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัทดังกล่าวเข้าเกณฑ์ 15 ข้อที่เขาตั้งเป็นเกณฑ์กำหนดไว้ครบถ้วน คุณควรที่จะลงทุนในปริมาณมากๆ ฟิชเชอร์ เห็นด้วยกับคำพูดของ มาร์ค ทเวน ที่ว่า "ใส่ไข่ทั้งหมดทุกฟองของคุณไว้ในตระกร้าใบเดียว และเฝ้าดูแลตระกร้านั้นให้ดี"


2. อย่าแห่ตามฝูงชน


การเฮโลไปกับฝูงชนโดยลงทุนในหุ้นที่กำลังอยู่ในความนิยม อย่างเช่น หุ้นกลุ่ม"นิฟตี้ ฟิฟตี้"(หุ้น 50 ตัวที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน)ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 หรือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี่ ในช่วงปลายทศวรรษปี 1990 เป็นอันตรายต่อสุขภาพการเงินของคุณได้ ในทางตรงกันข้าม การค้นคว้าหาข้อมูลในกลุ่มที่ฝูงชนละเลยไม่ให้ความสนใจก็สามารถสร้างผลกำไรให้สูงมากๆได้ ครั้งหนึ่ง เซอร์ ไอแซ๊ค นิวตัน เคยพูดยอมรับอย่างเศร้าใจว่า เขาสามารถที่จะคำนวณการเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆที่ตกมาจากท้องฟ้าได้ แต่กับความบ้าคลั่งของฝูงชนเขาไม่อาจจะทำได้ ฟิชเชอร์ต้องเห็นด้วยอย่างจริงใจกับคำกล่าวนี้


3. อย่าคิดเล็กคิดน้อย


หลังจากได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง และคุณได้พบบริษัทที่คุณมั่นใจว่าจะเจริญเติบโตอย่างแน่นอนในช่วง 10 ปีข้างหน้า และราคาหุ้นปัจจุบันเสนอขายในราคาเหมาะสม คุณควรจะรอหรือละเว้นการลงทุนของคุณเพื่อให้ราคาลงมาต่ำกว่าที่เป็นอยู่ขณะนั้นอีกซักไม่กี่เพนนีดีกว่า?

ฟิชเชอร์ได้เล่าให้ฟังเรื่องนักลงทุนที่ชำนิชำนาญคนหนึ่งที่ต้องการจะซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งซึ่งในวันนั้นราคาหุ้นปิดที่ 35.5 เหรียญต่อหุ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนผู้นี้ตั้งใจว่าจะไม่ซื้อหุ้นตัวนั้นจนกว่าราคาจะลดลงมาอยู่ที่ 35 เหรียญ หุ้นตัวนี้ไม่เคยมีราคาต่ำกว่า 35 เหรียญอีกเลยหลังจากนั้น และต่อมาอีก25 ปีมูลค่าของหุ้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 เหรียญต่อหุ้น นักลงทุนผู้นี้พลาดโอกาสที่จะได้ส่วนต่างราคาที่มากมายมหาศาลไปอย่างน่าเสียดายเพียงแค่ต้องการประหยัดต้นทุนอีก 50 เซนต์ต่อหุ้น



แม้แต่วอร์เร็น บัฟเฟตต์เองก็มักจะปล่อยให้เกิดความผิดพลาดทางจิตใจในแบบนี้เช่นกัน บัฟเฟตต์ เคยเริ่มซื้อวอลมาร์ท เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น แต่ก็หยุดซื้อเมื่อราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย บัฟเฟตต์ยอมรับว่าความผิดพลาดอันนี้ทำให้เบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์สูญเสียกำไรที่ควรจะเป็นไปราว 1 หมื่นล้านเหรียญ แม้แต่นักทำนายผู้ปราดเปรื่องแห่งโอมาฮา ยังน่าได้รับประโยชน์จากข้อแนะนำของฟิชเชอร์ข้อนี้ที่ว่าอย่าคิดเล็กคิดน้อย



ที่มา