วันอาทิตย์, ธันวาคม ๐๕, ๒๕๕๓

เบน เกรแฮม พูดถึงบทบาทของมูลค่าแฝงต่อการวิเคราะห์หุ้น(I)

มีอะไรต่อมิอะไรมากมายที่แม้ว่าผ่านเกณ์การประเมินวิเคราะห์หุ้นแล้วแต่ก็ดูเหมือนกับว่าเป็น"ทฤษฎีโง่เขลาเสียยิ่งกว่าอีก"อย่างมาก อินเวสโทเปียให้คำจำกัดความ"ทฤษฎีโง่เขลาเสียยิ่งกว่าอีก"ไว้ดังนี้ คือ ทฤษฎีนี้บอกไว้ว่ามีความเป็นได้ที่จะหาเงินจากการซื้อหุ้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะมีราคาเกินมูลค่าหรือไม่ก็ตามแล้วขายออกไปซึ่งยังไงก็ได้กำไรทั้งนี้เพราะจะมีคนบางคน(ผู้โง่เขลามากเสิยยิ่งกว่า)ที่ยินดีจ่ายด้วยราคาที่สูงกว่าเสมอ

วิธีการนี้เก่าแก่พอๆกับตลาดหุ้นวอลล์สตรีต และ แม้ว่าจะมีเทรดเดอร์จำนวนไม่มาก(น้อยนิด)ที่อาจจะสามารถทำกำไรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วยวิธีการดังกล่าว(ทั้งๆที่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของการซื้อขายอย่างถี่ยิบแต่อย่างใด) แต่โดยเฉลี่ยคนทั่วไปไม่สามารถจะทำกำไรได้

ด้วยแนวทางที่ต่างไปจากวิธีการที่มีอยู่แล้วดังกล่าว เบน เกรแฮมได้เข้าสู่วงการและนำเสนอแนวคิดใหม่สำหรับการวิเคราะห์หุ้นที่ทรงพลังยิ่ง หลักคิดพื้นฐานก็คือ เมื่อคุณซื้อใบหุ้นนั่นหมายความว่าคุณกำลังซื้อส่วนหนึ่งอันน้อยนิดของธุรกิจที่มีอยู่จริง เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ซื้อใบหุ้นควรที่จะเข้าใจและสามารถประเมินได้ว่าธุรกิจมีค่าตีเป็นตัวเงินเท่าใดโดยศึกษาจากข้อเท็จจริงต่างๆ ได้แก่ สินทรัพย์ กำไร เงินปันผล แนวโน้มธุรกิจในอนาคต ฝ่ายบริหาร การฟ้องร้อง ฯลฯ เป็นต้น สิ่งต่างๆที่ว่ามาดังกล่าว เกรแฮม เรียกว่า มูลค่าแฝง อีกทั้งเกรแฮมยังเข้าใจดีว่าเนื่องจากมีความผันผวนอย่างมากในตลาดหุ้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถซื้อหุ้นในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งในราคาที่มีส่วนลดอย่างชัดเจนจากมูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจเป็นระยะๆ ส่วนลดดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเป็นพื้นฐานที่สมเหตุสมผลให้คาดการณ์ได้ว่าจะกลายเป็นผลตอบแทนที่งดงาม(หรือ ไม่ใคร่จะงดงาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับราคาที่ซื้อว่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด) แต่ยังเป็นกันชนเพื่อความปลอดภัยแก่นักลงทุนหากเกิดกรณีตัดสินใจและวิเคราะห์ผิดพลาดไปจากที่ควรเป็น และเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่อาจจะมองเห็นได้ในอนาคต


เกรแฮมชี้ให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินมูลค่าของธุรกิจออกมาเป็นค่าโดดๆที่ถูกต้องแม่นยำ ตามปกติมูลค่าที่ประเมินได้มักออกมาเป็นค่าพิสัย(อยู่ระหว่าง 2 ค่า คือ ต่ำสุดและสูงสุด) หากคุณสามารถประเมินค่าพิสัยนี้ออกมาได้ คุณก็สามารถบอกได้ว่าราคาหุ้นนั้นๆต่ำกว่ามูลค่า หรือ สูงเกินมูลค่า หรือ เป็นค่าที่เหมาะสม การไม่สามารถระบุมูลค่าออกมาเป็นมูลค่าโดดๆที่ถูกต้องแม่นยำก็ใช่ว่าเป็นปัญหาแต่อย่างใดหากว่าคุณสามารถซื้อหุ้นมาด้วยราคาที่ถูกพอ ถ้าจะเปรียบไปแล้วเกรแฮมบอกว่าน่าเป็นแบบเดียวกับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะตัดสินว่าชายคนใดคนหนึ่งอ้วนถึงแม้จะไม่รู้น้ำหนักที่แท้จริงของเขา หรือ ว่าผู้หญิงอายุมากพอที่จะมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้แม้ว่าเราไม่รู้อายุที่แท้จริงของหล่อนก็ตาม


ในหนังสือซีเคียวริตี้ อานาไลซิส (พิมพ์ครั้งที่ 6) (หน้า 63-67) เกรแฮมได้ยกตัวอย่างหุ้น 2 ตัวที่เขาได้ให้มูลค่าแฝงของหุ้นดังกล่าวไว้


ไรท์ แอโรนอติก คอร์ปอเรชั่น

ต่อไปนี้ คือ ความเป็นมาของบริษัท ในปี 1922

ราคา ต่อ หุ้น : $8.00

กำไรสุทธิต่อหุ้น : $2.00

ปันผล : $1.00

เงินสดต่อหุ้น : $8.00

พิสัยมูลค่าแฝงที่เกรแฮมให้ไว้: $20 ถึง $40

ข้อสังเกตุ:

  • เกรแฮมสรุปไว้ว่าหุ้นนี้ราคาถูก ณ ราคา $8.00 ต่อหุ้น

  • ค่าต่ำสุดของพิสัยมูลค่าแฝง มีค่า 10 เท่าของกำไรสุทธิ และ ยังมีค่าลดต่ำลงไปเป็นเพียง 6 เท่าของกำไรสุทธิถ้าเราคิดโดยตั้งสมมุติฐานว่าบริษัทไม่มีหนี้สิน (ณ ราคา $20 ต่อหุ้น คุณจะจ่ายแค่เพียง $12 ต่อหุ้นคิดจากเงินสดสุทธิ)

  • ไม่ว่ากรณีใดก็ตามเกรแฮมจะไม่ให้ราคาโดยประมาณเกินกว่า 20 เท่าของกำไรสุทธิ ($40/$2)

ต่อไปนี้ คือ ความเป็นมาของบริษัท ในปี 1928 :

ราคา ต่อ หุ้น: $280

กำไรสุทธิต่อหุ้น: มากกว่า $8.00($3.77 ในปี 1927)

ปันผล: $2.00

มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ: $50

พิสัยมูลค่าแฝงที่เกรแฮมให้ไว้ในปี 1929: $50 ถึง $180

ข้อสังเกตุ:

  • เกรแฮมคิดว่า ไรท์ แอโรนอติคัล อาจมีค่าคิดเป็นตัวเงินเพียงแค่ไม่เกินกว่า 6 เท่าของกำไรสุทธิปี 1928 เกรแฮมอาจได้พิจารณากำไรสุทธิปี 1927 และไม่เชื่อว่าบริษัทจะสามารถรักษาอัตรากำไรให้อยู่ที่ระดับ $8 ต่อไปได้
  • ไม่ว่ากรณีใดก็ตามเกรแฮมจะไม่จ่ายที่ราคามากกว่า 10 เท่าของกำไรสุทธิ $8 ต่อหุ้นรากำไรสูงสุดที่ทำได้)
  • ณ ราคา $280 ต่อหุ้น (35 เท่าของ กำไรสุทธิปี 1928) เกรแฮมคิดว่าเป็นที่ชัดเจนว่าราคา ไรท์ แอโรนอติคัล เกินมูลค่า

พรุ่งนี้ผมจะพิจารณาบริษัท เจ เจ เคส คอมมอน และเอามาสรุปให้นักลงทุนแบบประเมินมูลค่าร่วมสมัยเอาไว้ใช้ต่อไป

เกร็ก สไปเชอร์

ที่มา : http://www.gurufocus.com/news_print.php?id=107576