โดย อีมิล ลี
23 ก.พ.2550
บทสัมภาษณ์ผู้จัดการกองทุนหุ้นส่วนเพื่อการลงทุน ชื่อ โมห์นิช พาไบร ตอนนี้เป็นตอนที่ 2
อีมิล ลี: คุณมีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่จะลงทุนอย่างไร ตามปกติแล้วคุณจะเฝ้าติดตามแต่เฉพาะอุตสาหกรรมต่างๆที่คุณคุ้นเคยเข้าใจหรือเปล่า คุณเสาะหาข้อมูลในเชิงลึกมากน้อยเพียงใดในแง่ของ การศึกษาบริษัท อุตสาหกรรมที่บริษัทนั้นอยู่ และคู่แข่งทั้งหลาย คุณจำเป็นต้องไปพบปะพูดคุยกับผู้คนในอุตสาหกรรมนั้นหรือเปล่า
โมห์นิช พาไบร: ผมไม่โทรไปถามหรือเข้าพบฝ่ายบริหารหรือผู้ล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทหรอก บางครั้งบางคราวผมต้องมอบความไว้วางใจให้กับนักลงทุนในกองทุนพาไบร ผมยินดีและพอใจที่จะได้พบกับกลุ่มผู้บริหาร(ซีอีโอ)หรือผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่ล้วนแต่เป็นนักลงทุน บุคคลเหล่านี้จะรู้และเข้าใจอุตสหากรรมของตนเองดีมาก ดังนั้น ถ้าผมเสาะหาข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ มีผู้คนที่ผมรู้จักเพียงไม่กี่คนที่ถือได้ว่าเชี่ยวชาญในเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ผมจะลงมืออ่านศึกษาข้อมูลธุรกิจ แล้วทดลองประเมินอย่างตรงไปตรงมาว่าบริษัทนี้อยู่ในขอบข่ายที่ผมเชี่ยวชาญหรือไม่ จากนั้นก็ส่งข้อเสนอที่เป็นสมมุติฐานของผมต่อให้นักลงทุนทั้งหลายที่มีความรู้โดดเด่นและรอรับฟังข้อคิดเห็นจากเขาเหล่านั้น
ลี: คุณไม่ได้ใช้โมเด็ลต่างๆในโปรแกรมเอกซ์เซลใช่ไหม แล้วคุณเก็บข้อมูลในส่วนต่างๆที่ผันแปรอยู่ตลอดเวลาอย่างไร (เช่น ต้นทุนต่อหน่วย คิดส่วนลดกระแสเงินสด) ไม่ทราบว่าการคิดหาความคุมค่าทางเศรษฐกิจในแนวคิดการลงทุนของคุณมันบีบรัดอย่างกระชั้นชิดหรือง่ายจนถึงกับว่าคุณสามารถคิดคำนวณบนกระดาษซองจดหมายหรือเปล่า
พาไบร: โดยปกติจะมีตัวแปรแค่ 2 หรือ 3 ตัวเท่านั้นที่จะเป็นปัจจัยควบคุมให้ได้ผลลัพธ์ส่วนใหญ่ออกมา ส่วนที่เหลือเป็นแค่สิ่งจูงใจให้ผู้คนสนใจ ถ้าหากคุณมีตัวช่วยที่เป็นประโยชน์ทำให้พอประมาณการเลาๆได้ว่าตัวแปรหลักๆเหล่านี้น่าจะทำให้เกิดผลลัพธ์สุดท้ายอย่างไร ก็เท่ากับว่าคุณมีหลักการที่จะทำอะไรบางอย่างได้แล้ว สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการและความน่าจะเป็นไปได้ใช้ได้ไม่ดีนักกับการสร้างโมเด็ลบนโปรแกรมเอ็กเซล สำหรับผมแล้วพบว่าถ้าผมต้องขยับไปอาศัยโปรแกรมเอ๊กเซลเมื่อใด นั่นเท่ากับเป็นสัญญานที่ชัดเจนว่าให้ผ่านหุ้นนั้นไป ข้อเสนอที่เป็นสมมุติฐานควรที่จะอยู่ในรูปแบบง่ายๆที่สามารถตรึกตรองได้ในหัวสมองคุณเอง
ลี: มีหนังสืออยู่มากมายนับไม่ถ้วนที่เขียนเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นมูลค่า แต่มีเพียงไม่กี่เล่มที่พูดถึงการลงทุนกับเหตุการณ์พิเศษเฉพาะ หรือแบบที่มีสถานะการณ์เป็นตัวผลักดันให้ลงทุน คุณพอจะแนะนำหนังสือหรือนิตยสารอย่างว่านี้ได้บ้างไหม คุณยังพูดถึง ทิโมธี ริค ในหนังสือของอัลทูเชอร์-- ดิฉันหาเอกสารหรือหนังสือที่เขียนถึงตัวเขาไม่เจอเลย (ชื่อเขาควรจะเรียกว่า ทิโมธี วิค หรือเปล่า) คุณพอจะชี้ทางให้ดิฉันสืบค้นหาข้อมูลได้ไหม
พาไบร: ใช่ เขาชื่อ ทิม วิค บัฟเเฟตต์ได้เคยพูดและเขียนเรื่องต่างๆมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์พิเศษเฉพาะ ทุกคนควรหาอ่านข้อมูลจากจดหมายถึงผู้ถือหุ้นของกองทุนหุ้นส่วนบัฟเฟตต์และจดหมายถึงผู้ถือหุ้น รวมไปถึงบทบันทึกรายงานประจำปีที่ตีพิมพ์ลงในโอไดดี(เอาท์สแตนดิ่ง อินเวสเตอร์ไดเจสต์) ทิมพูดไว้ในหนังสือของเขาเช่นกัน ฟินโนว่า(Finova)ก็เป็นเรื่องของเหตุการณ์พิเศษเฉพาะของบัฟเฟตต์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ การผจญภัยต่างๆไปกับพันธบัตร เลเวล 3 (Level 3) หุ้นในเกาหลี อเมริกันเอกซเพรส ก็เป็นเรื่องเหตุการณ์พิเศษเฉพาะที่เกิดขึ้นช่วงทศวรรษ 1960 ฯลฯ เป็นต้น
ลี: คุณคาดหวังที่จะได้รับความสำเร็จอะไรในหนังสือเล่มใหม่ของคุณ มีสาระหรือประเด็นใดที่คุณอยากให้ผู้อ่านให้ความสนใจเป็นพิเศษ
พาไบร: วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดก็คือการสอนให้ความรู้แก่ผู้อื่น การเขียนหนังสือช่วยผมอย่างมหาศาลในการจัดแจงหลักการและแนวคิดที่อยู่ในหัวสมองผมให้เป็นระบบแบบแผนที่ดี ผมสนุกกับการเขียนถึงเรื่องพวกนี้ ผมเขียนไว้สำหรับนักลงทุนที่ชาญฉลาดรายบุคคล และผมเขียนไว้สำหรับรุ่นลูกของลูกของลูกที่ผมจะไม่มีโอกาสได้พบเจอ ถ้าหนังสือนี้ช่วยพัฒนาผลงานการลงทุนให้แก่คนแค่เพียงไม่กี่คน ผมก็ถือว่าหนังสือประสบความสำเร็จแล้ว
ลี: คุณยังพอจะมีข้อแนะนำอะไรเพิ่มเติมอีกไหมที่พอจะช่วยคนอย่างดิฉันซึ่งกำลังพยายามหาทางเรียนรู้เรื่องของการลงทุนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
พาไบร: ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ขอให้คุณทำตามสิ่งที่คุณคลั่งไคล้หลงไหล ถ้าคุณเฝ้าทำแต่สิ่งที่คุณรักแล้วมั่นใจได้เลยว่าคุณจะทำสิ่งนั้นได้ดีหากว่าการลงทุนเป็นสิ่งที่คุณหลงไหลคลั่งไคล้แล้วละก้อจงศึกษาจากคนที่เก่งที่สุดอย่างเต็มที่และจริงจัง นักลงทุนที่เก่งที่สุดคือ วอร์เร็น บัฟเฟตต์และเขาเป็นบุคคลที่พร้อมจะให้คุณตรวจสอบและเรียนรู้ให้เข้าใจเขาอยู่ตลอดเวลา ผมขอแนะนำให้ใครก็ได้ต้องทุ่มสละพละกำลังทั้งหมดของตนในอันที่จะทำความเข้าใจเรียนรู้วิธีการทำงานของบัฟเฟตต์ ให้ทำจนกระทั่งว่าวิธีดังกล่าวสถิตอยู่ในอารมณ์ของคุณ แล้วให้รับเอาวิธีดังกล่าวไว้กับตัวคุณ
ขอบคุณสำหรับการสัมภาษณ์
พูดได้ดีจริงๆ...............
หวังว่าพวกเราทุกคนได้รับความพึงพอใจและขอให้คุณประสบผลสำเร็จตามที่หวังไว้ในเส้นทางการลงทุนของคุณ ดิฉันคิดตั้งข้อสังเกตว่าขอให้ความสนใจเกี่ยวกับแนวคิดการลงทุนของพาไบรซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่ามีเพียงแค่ 2 ข้อที่เป็นตัวหลักสำหรับการขับเคลื่อน ถ้าคุณเข้าใจธุรกิจอย่างถ่องแท้และมีกันชนเผื่อสำหรับความปลอดภัยที่มากเพียงพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้โมเด็ลที่สลับซับซ้อนแต่อย่างใด บัฟเฟตต์และหุ้นส่วนของเขา คือ ชาร์ลี มังเกอร์ได้เน้นย้ำเสมอๆว่าโมเด็ลของการทำส่วนลดกระแสเงินสดไม่จำเป็นแต่อย่างใดถ้าหากแนวคิดการลงทุนผุดขึ้นมาตะโกนใส่คุณการยึดหลักการอย่างง่ายช่วยนักลงทุนทั้งหลายเช่นอย่างดิฉันได้มากเพราะดิฉันมักจะยึดติดกับรายละเอียดเสมอๆจนทำให้เกิดความสับสนกังวลใจเพราะทำยังไงก็ไม่สามารถจับประเด็นได้สักที ฉะนั้นจงจำ 2 เรื่องนี้ไว้ให้ดี ประการแรก ถ้าเป็นแนวคิดที่ดูแล้วไม่ดีแน่ๆ น่าจะถึงเวลาที่ต้องเดินข้ามผ่านไป และประการต่อมาหากแนวคิดการลงทุนอยู่นอกขอบเขตความเชี่ยวชาญของเรา เราจำเป็นต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ถอยกลับมาตั้งหลักอยู่ในขอบเขตความเชี่ยวชาญของเราเสีย หรือ เรียนรู้ให้ได้ว่าต้องทำอะไรบ้างในการที่จะขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญของเรา อย่างไรก็ตาม นักเล่นเชสส์ผู้ยิ่งใหญ่หลายคนมองเป็นลักษณะกระจุกตัวเป็นกลุ่มก้อน พวกคนเหล่านี้เพียงแค่วางแผนลงมือปฏิบัติการอย่างรอบคอบโดยไม่ลดละแล้วจัดแจงให้เป็นสองขั้นตอนหลักง่ายๆอย่างไม่น่าเชื่อและรายละเอียดส่วนที่เหลือเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบที่ไม่นำมาร่วมพิจารณาแต่อย่างใด นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายผู้ทำงานอย่างขยันขันแข็งในอันที่จะขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญของพวกเขาก็สามารถสรุปแนวคิดการลงทุนต่างๆที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนให้ออกมาเป็นรูปแบบง่ายๆสามารถให้คำตอบสำหรับการตัดสินใจว่า ตกลง หรือ ไม่ตกลง แค่นั้นเอง
ท่านผู้อ่านทั้งหลายควรท่องคำแนะนำของพาไบรให้ขึ้นใจเกี่ยวกับเรื่องการเฝ้าตามติดสิ่งที่ท่านคลั่งไคล้หลงไหล หากต้องการอ่านเพิ่มเติมให้หาอ่านจากหนังสือของพาไบร ชื่อ เพอร์สเปกติป ออน อินเวสติง และเล่มล่าสุดที่กำลังจะออก คือ เดอะ ดาโด อินเวสเตอร์
ที่มาhttp://www.fool.com/investing/general/2007/02/23/pabrais-perspectives-on-investing-part-2.aspx
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น